You are here: BP HOME > PT > Khuddakanikāya: Apadāna > fulltext
Khuddakanikāya: Apadāna

Choose languages

Choose images, etc.

Choose languages
Choose display
  • Enable images
  • Enable footnotes
    • Show all footnotes
    • Minimize footnotes
Search-help
Choose specific texts..
    Click to Expand/Collapse Option Complete text
Click to Expand/Collapse OptionBuddhāpadānaṃ
Click to Expand/Collapse OptionPaccekabuddhāpadānaṃ
Click to Expand/Collapse OptionTherāpadānaṃ
Click to Expand/Collapse OptionTherī Apadāna
1. Sāriputta. 
๑. สารีปุตตเถราปทาน (ประวัติในอดีตชาติของพระสารีบุตรเถระ) (พระอานนทเถระกล่าวว่า) ต่อไปนี้ ขอท่านทั้งหลายจงตั้งใจฟังประวัติ ในอดีตชาติของพระเถระทั้งหลาย (ต่อไป) (พระสารีบุตรเถระบรรลุสาวกบารมีญาณแล้วได้อุทานขึ้นว่า) 
Himavantass’ avidūre Lambako nāma pabbato /
assamo sukato mayhaṃ paṇṇasālā sumāpitā. // ApTha_1,1. // 
[๑๔๑] ในที่ไม่ไกลภูเขาหิมพานต์ มีภูเขาลูกหนึ่งชื่อลัมพกะ
(ใกล้ๆ ภูเขาลัมพกะนั้น) เขาสร้างอาศรม
และสร้างบรรณศาลาไว้อย่างดีเพื่อข้าพเจ้า 
Uttānakūlā nadikā supatiṭṭhā manoramā /
sasuddhapuḷinākiṇṇā avidūre mam’ assamaṃ. // ApTha_1,1. // 
[๑๔๒] ในที่ไม่ไกลอาศรมของข้าพเจ้า มีแม่น้ำสายหนึ่งมีฝั่งตื้น
ท่าน้ำราบเรียบ น่ารื่นรมย์ใจ
มีทรายสะอาดเรี่ยรายกระจายอยู่ทั่ว 
Asakkharā apabbhārā sādu appaṭigandhikā /
sandati nadikā tattha sobhayantā mam’ assamaṃ. // ApTha_1,1. // 
[๑๔๓] ในที่ไม่ไกลอาศรมของข้าพเจ้านั้น
มีแม่น้ำไม่มีก้อนกรวด ไม่มีเงื้อมยื่นง้ำออกมา
น้ำมีรสดี ไม่มีกลิ่น ไหลไป
ประดับอาศรมของข้าพเจ้าให้งดงาม 
Kumbhīlā makarā c’ ettha suṃsumārā ca kacchapā /
sandati nadikā tattha sobhayantā mam’ assamaṃ. // ApTha_1,1. // 
[๑๔๔] ในแม่น้ำ มีฝูงจระเข้ ฝูงมังกร
ฝูงตะโขง และฝูงเต่า แหวกว่ายไปมา
ในแม่น้ำสายนั้น ประดับอาศรมของข้าพเจ้าให้งดงาม 
Pāṭhīnā pāvusā macchā jalajā muñjarohitā /
vagguḷā ca patāyanti sobhayantā mam’ assamaṃ. // ApTha_1,1. // 
[๑๔๕] ฝูงปลาสลาด ฝูงปลากระบอก
ฝูงปลาสวาย ฝูงปลาเค้า ฝูงปลาตะเพียน
ฝูงปลานกกระจอก ว่ายเวียนไปมา
ประดับอาศรมของข้าพเจ้าให้งดงาม 
Ubho kūlesu nadiyā pupphino phalino dumā /
ubhato abhilambanti sobhayantā mam’ assamaṃ. // ApTha_1,1. // 
[๑๔๖] ที่ฝั่งทั้ง ๒ ของแม่น้ำ หมู่ไม้ดอก ไม้ผล
ห้อยระย้าอยู่ทั้ง ๒ ฝั่ง
ประดับอาศรมของข้าพเจ้าให้งดงาม 
Ambā kolakā tilakā pāṭalī sindhuvāritā /
dibbā gandhā sampavanti pupphitā mama assame. // ApTha_1,1. // 
[๑๔๗] ต้นมะม่วง ต้นสาละ ต้นหมากเม่า
ต้นแคฝอย ต้นย่านทราย มีดอกบานสะพรั่ง
ส่งกลิ่นหอมอบอวลคล้ายกลิ่นทิพย์อยู่รอบๆ อาศรมของข้าพเจ้า 
Campakā saḷalā nīpā nāgapunnāgaketakā /
dibbā gandhā sampavanti pupphitā mama assame. // ApTha_1,1. // 
[๑๔๘] ต้นจำปา ต้นช้างน้าว ต้นกระทุ่ม ต้นกากะทิง
ต้นบุนนาค และต้นการะเกด มีดอกบานสะพรั่ง
ส่งกลิ่นหอมอบอวลคล้ายกลิ่นทิพย์อยู่รอบๆ อาศรมของข้าพเจ้า 
Atimuttā asokā ca bhaginimālā ca pupphitā /
aṅkolā bimbijālā ca pupphitā mama assame. // ApTha_1,1. // 
[๑๔๙] ต้นลำดวน ต้นอโศก ต้นกุหลาบ
มีดอกบานสะพรั่ง ต้นปรู และต้นมะกล่ำหลวง
ก็มีดอกบานสะพรั่งอยู่รอบๆ อาศรมของข้าพเจ้า 
(016) Ketakā kandalī c’ eva kebukā tiṇasūlikā /
dibbā gandhā sampavanti sobhayantā mam’ assamaṃ. // ApTha_1,1. // 
[๑๕๐] ต้นลำเจียก ต้นกล้วย ต้นพิกุล และต้นมะลิซ้อน
ส่งกลิ่นหอมอบอวลคล้ายกลิ่นทิพย์
ประดับอาศรมของข้าพเจ้าให้งดงาม 
Kaṇṇikārā kaṇikā ca asanā añjanī bahū /
dibbā gandhā sampavanti sobhamānā mam’ assamaṃ. // ApTha_1,1. // 
[๑๕๑] ต้นกรรณิการ์ ต้นกรรณิการ์เขา
ต้นประดู่ ต้นอัญชัน มากมาย
ส่งกลิ่นหอมอบอวลคล้ายกลิ่นทิพย์
ประดับอาศรมของข้าพเจ้าให้งดงาม 
Punnāgā giripunnāgā koviḷārā ca pupphitā /
dibbā gandhā sampavanti sobhayantā mam’ assamaṃ. // ApTha_1,1. // 
[๑๕๒] ต้นบุนนาค ต้นบุนนาคเขา ต้นแคฝอย
มีดอกบานสะพรั่ง ส่งกลิ่นหอมอบอวลคล้ายกลิ่นทิพย์
ประดับอาศรมของข้าพเจ้าให้งดงาม 
Uddālakā ca kuṭajā kadambā vakuḷā bahū /
dibbā gandhā sampavanti sobhayantā mam’ assamaṃ. // ApTha_1,1. // 
[๑๕๓] ต้นราชพฤกษ์ ต้นอัญชันเขียว
ต้นกระทุ่ม และต้นพิกุล มากมาย
ส่งกลิ่นหอมอบอวลคล้ายกลิ่นทิพย์
ประดับอาศรมของข้าพเจ้าให้งดงาม 
Āḷakā isimuggā ca kadalī mātuluṅgiyo /
gandhodakena saṃvaddhā phalāni dhārayanti te. // ApTha_1,1. // 
[๑๕๔] ถั่วดำ ถั่วเหลือง ต้นกล้วย
ต้นมะงั่ว งอกงามด้วยน้ำหอม
ออกฝัก ออกผล(เป็นทองคำ ประดับอาศรมของข้าพเจ้าให้งดงาม) 
Aññe pupphanti padumā aññe jāyanti kesarī /
aññe opupphā padumā taḷāke pupphitā tadā. // ApTha_1,1. // 
[๑๕๕] (ในบึงใกล้ๆ อาศรมของข้าพเจ้า) ปทุมบางกอกำลังมีดอกตูม
บางกอมีเกสรกำลังแย้ม บางกอมีเกสร(ในกลีบ)ร่วงหล่น
บางกอมีดอกบานสะพรั่งอยู่ในบึง ในครั้งนั้น 
Gabbhaṃ gaṇhanti padumā niddhāvanti muḷāliyo /
siṅghāṭipattamākiṇṇā sobhayanti taḷākaṃ tadā. // ApTha_1,1. // 
[๑๕๖] ปทุมบางกอกำลังมีดอกตูม
เหง้าบัวเลื้อยไปทั่ว กอกระจับมีใบดารดาษ
งดงามอยู่ในบึง ในครั้งนั้น 
Nayitā ambagandhī ca utūḷhi bandhujīvakā /
dibbā gandhā sampavanti taḷāke pupphitā tadā. // ApTha_1,1. // 
[๑๕๗] ต้นตาเสือ ต้นจงกลนี ต้นอุตตลี และต้นชบา
มีดอกบานสะพรั่งส่งกลิ่นหอมอบอวลคล้ายกลิ่นทิพย์
อยู่ใกล้ๆ บึง ในครั้งนั้น 
Pāṭhīnā pāvusā macchā valajā muñjarohitā /
saṅkulā maggurā c’ eva vasanti taḷāke tadā. // ApTha_1,1. // 
[๑๕๘] ฝูงปลาสลาด ฝูงปลากระบอก
ฝูงปลาสวาย ฝูงปลาเค้า ฝูงปลาตะเพียน
ฝูงปลาสังกุลา(ปลาลูกดอก) และฝูงปลาทอง
อาศัยอยู่ในบึง ในครั้งนั้น 
Kumbhīlā suṃsumārā ca tantiggāhā ca rakkhasā /
ogahā ajagārā ca vasanti taḷake tadā. // ApTha_1,1. // 
[๑๕๙] (ใกล้ๆ อาศรมของข้าพเจ้า) มีฝูงจระเข้ ฝูงตะโขง1
ฝูงปลาฉนาก2 ฝูงผีเสื้อน้ำ(ยักษ์ร้าย)ฝูงงูหลาม
ฝูงงูเหลือมอาศัยอยู่ในบึง ในครั้งนั้น 
Pārevatā ravihaṃsā cakkavākā nadīcarā /
kokilā sukasāḷī ca upajīvanti taṃ saraṃ. // ApTha_1,1. // 
[๑๖๐] (ใกล้ๆ อาศรมของข้าพเจ้า) มีฝูงนกพิราบ ฝูงนกเป็ดน้ำ
ฝูงนกจักรพาก3 ฝูงนกกาน้ำ ฝูงนกดุเหว่า
ฝูงนกแก้ว และนกสาลิกา อาศัยสระนั้นหากิน 
Kukutthakā kulīrakā vane pokkharasātakā /
diṇḍibhā suvapotā ca upajīvanti taṃ saraṃ. // ApTha_1,1. // 
[๑๖๑] ฝูงนกกวัก (ไก่เถื่อน ไก่ป่า) ฝูงไก่ป่า
ฝูงนกนางนวล ฝูงนกต้อยตีวิด
ฝูงนกแขกเต้า อาศัยสระนั้นหากิน (ใกล้ๆ อาศรมของข้าพเจ้า) 
(017) Haṃsā koñcā mayūrā ca kokilā tambacūḷakā /
sampakā jīvajīvā ca upajīvanti taṃ saraṃ. // ApTha_1,1. // 
[๑๖๒] ฝูงหงส์ ฝูงนกกระเรียน ฝูงนกยูง
ฝูงนกดุเหว่า ฝูงไก่งวง ฝูงนกช้อนหอย4
ฝูงนกโพระดก (นกกระจอก นกออก) อาศัยสระนั้นหากิน 
Kosikā poṭṭhasīsā ca kurarā senakā bahū /
mahākāḷā ca sakuṇā upajīvanti taṃ saraṃ. // ApTha_1,1. // 
[๑๖๓] ฝูงนกแสก (นกเค้าแมว นกทึดทือ) ฝูงนกหัวขวาน
ฝูงนกออกขาว (นกเขา) ฝูงนกเหยี่ยวดำ
ฝูงนกกาน้ำ มากมาย อาศัยสระนั้นหากิน 
Pasadā ca varāhā ca vakabheraṇḍakā bahū /
rohiccā suggapotā ca upajīvanti taṃ saraṃ. // ApTha_1,1. // 
[๑๖๔] ฝูงเนื้อฟาน (อีเก้ง) ฝูงหมูป่า ฝูงสุนัขจิ้งจอก
(หมาป่า หมาใน) ฝูงแรด ฝูงละมั่ง
ฝูงเนื้อทราย อาศัยสระนั้นหากิน 
Sīhā vyagghā ca dīpī ca acchakokataracchayo /
tidhappabhinnā mātaṅgā upajīvanti taṃ saraṃ. // ApTha_1,1. // 
[๑๖๕] ราชสีห์ เสือโคร่ง เสือเหลือง
หมี หมาใน เสือดาว
ช้างตระกูลมาตังคะตกมัน ๓ แห่ง5 (ไม่ทำอันตราย)
อาศัยสระนั้นหากิน 
Kinnarā vānarā c’ eva atho pi vanakammikā /
cetā ca luddakā c’ eva upajīvanti taṃ saraṃ. // ApTha_1,1. // 
[๑๖๖] เหล่ากินนร (สัตว์ครึ่งคนครึ่งนก) ฝูงวานร
คนทำงานในป่า สุนัขไล่เนื้อ
นายพราน อาศัยสระนั้นหากิน 
Tiṇḍukāni piyālāni madhuke kāsumāriyo /
dhuvaphalāni dhārenti avidūre mam’ assamaṃ. // ApTha_1,1. // 
[๑๖๗] ต้นมะพลับ ต้นมะหาด6 ต้นมะซาง
ต้นหมากเม่า เผล็ดผลทุกฤดูกาล
อยู่ไม่ไกลอาศรมของข้าพเจ้า 
Kosumbhā saḷalā nīpā sāraphalasamāyutā /
dhuvaṃ phalāni dhārenti avidūre mam’ assamaṃ. // ApTha_1,1. // 
[๑๖๘] ต้นคำ7 ต้นสน ต้นกระทุ่ม
สะพรั่งด้วยผลมีรสหวาน เผล็ดผลเป็นประจำ
อยู่ไม่ไกลอาศรมของข้าพเจ้า 
Harīṭakā āmalakā ambā jambuvibhīṭakā /
kolā bhallātakā bellā phalāni dhārayanti te. // ApTha_1,1. // 
[๑๖๙] ต้นสมอไทย ต้นมะขามป้อม ต้นมะม่วง ต้นหว้า
ต้นสมอพิเภก ต้นกระเบา ต้นรกฟ้า
ต้นมะตูม เหล่านั้น เผล็ดผลเป็นนิตย์ 
Ālulā ca kalambā ca bilāni takkaḷāni ca /
jīvakā sahakā c’ eva bahukā mama assame. // ApTha_1,1. // 
Assamassāvidūramhi taḷākā su-sunimmitā /
acchodakā sitajalā supatitthā manoramā. // ApTha_1,1. // 
[๑๗๑] ใกล้ๆ อาศรม(ของข้าพเจ้า)มีบึงน้ำที่บุญกรรมเนรมิตไว้อย่างดี
มีน้ำใสเย็นสนิท มีท่าน้ำราบเรียบ เป็นที่น่ารื่นรมย์ใจ 
Padumuppalasañchannā puṇḍarīkasamāyutā /
mandālakehi sañchannā dibbo gandho pavāyati. // ApTha_1,1. // 
[๑๗๒] (สระน้ำเหล่านั้น) ดารดาษด้วยดอกบัวหลวง ดอกบัวขาบ11
สะพรั่งด้วยบัวขาว ดารดาษด้วยบัวเฝื่อน
ส่งกลิ่นหอมอบอวลคล้ายกลิ่นทิพย์ 
Evaṃ sabbaṅgasampanne pupphite phalite vane /
sukate assame ramme viharāmi ahaṃ tadā. // ApTha_1,1. // 
[๑๗๓] ครั้งนั้น ข้าพเจ้าอยู่ในอาศรม
ซึ่งสร้างไว้อย่างดี น่ารื่นรมย์ ในป่ามีไม้ดอกไม้ผล
สมบูรณ์ด้วยองค์ประกอบทุกอย่าง ดังกล่าวมานี้ 
Sīlavā vatasampanno jhāyī jhānarato sadā /
pañcābhiññāphalappatto Surucī nāma tāpaso. // ApTha_1,1. // 
[๑๗๔] ข้าพเจ้าเป็นดาบสชื่อสุรุจิ มีศีล
สมบูรณ์ด้วยข้อวัตร มีปกติเพ่งฌาน
ยินดีในฌานในกาลทุกเมื่อ
สำเร็จอภิญญาพละ ๕ ประการ 
Catubbīsasahassāni sissā mayhaṃ upaṭṭhahuṃ /
sabbe ca brāhmaṇā ete jātimanto yasassino. // ApTha_1,1. // 
[๑๗๕] ข้าพเจ้ามีศิษย์ ๑,๐๒๔ คน ทั้งหมดนั้น
เป็นพราหมณ์ มีชาติตระกูล มียศ
ปรนนิบัติข้าพเจ้าอยู่ 
Lakkhaṇe itihāse ca sanighaṇḍu sakeṭubhe /
padakā veyyākaraṇā saddhamme pāramiṅgatā // ApTha_1,1. // 
[๑๗๖] ศิษย์ของข้าพเจ้าเข้าใจตัวบท(หลักไวยากรณ์)
ฉลาดในการพยากรณ์ สำเร็จวิชาทำนายลักษณะ
วิชาอิติหาสศาสตร์ และไตรเพทอันเป็นธรรมของตน
พร้อมทั้งวิชานิฆัณฑุศาสตร์ และวิชาเกฏุภศาสตร์ 
(018) Uppādesu nimittesu lakkhaṇesu ca kovidā /
paṭṭhābhummantalikkhe te mama sissā susikkhitā. // ApTha_1,1. // 
[๑๗๗] ศิษย์ของข้าพเจ้าฉลาดในลางบอกเหตุ
ในนิมิตร และในลักษณะ
เป็นผู้ศึกษาดีแล้วในเรื่องดิน
ในภาคพื้นดิน และในอากาศ 
Appicchā nipakā ete appāhārā aloḷupā /
lābhālābhena santuṭṭhā parivārenti maṃ sadā. // ApTha_1,1. // 
[๑๗๘] ศิษย์เหล่านั้นเป็นผู้มักน้อย
มีปัญญารักษาตน บริโภคแต่น้อย ไม่โลภ
สันโดษตามมีตามได้ ปรนนิบัติข้าพเจ้าอยู่ทุกเมื่อ 
Jhāyī jhānaratā dhīrā santacittā samāhitā /
ākiñcañaṃ patthayantā parivārenti maṃ sadā. // ApTha_1,1. // 
[๑๗๙] ศิษย์ของข้าพเจ้ามีปกติเพ่งฌาน ยินดีในฌาน
เป็นนักปราชญ์ มีจิตสงบ มีจิตตั้งมั่น
ปรารถนาความหมดกังวล ปรนนิบัติข้าพเจ้าอยู่ทุกเมื่อ 
Abhiññāpāramīpattā pettike gocare ratā /
antalikkhacarā dhīrā parivārenti maṃ sadā. // ApTha_1,1. // 
[๑๘๐] ศิษย์ของข้าพเจ้าสำเร็จอภิญญา
ยินดีในอาหารซึ่งเป็นข้อปฏิบัติของบิดา
เหาะไปมาทางอากาศได้
เป็นนักปราชญ์ ปรนนิบัติข้าพเจ้าอยู่ทุกเมื่อ 
Saṃvutā chasu dvāresu anejā rakkhitindriyā /
asaṃsaṭṭhā ca te dhīrā mama sissā durāsadā. // ApTha_1,1. // 
[๑๘๑] ศิษย์ของข้าพเจ้านั้น สำรวมทวารทั้ง ๖
ไม่หวั่นไหว รักษาอินทรีย์ และไม่คลุกคลี
เป็นนักปราชญ์ หาผู้กระทบกระทั่งได้ยาก 
Pallaṅkena nisajjāya thānā caṅkamanena ca /
vītināmenti te rattiṃ mama sissā durāsadā. // ApTha_1,1. // 
[๑๘๒] ศิษย์ของข้าพเจ้านั้นหาผู้กระทบกระทั่งได้ยาก
ให้เวลาผ่านไปด้วยการนั่งขัดสมาธิ
การยืน และการจงกรม ตลอดคืน 
Rajanīye na rajjanti dosanīye na dussare /
mohanīye na muyhanti mama sissā durāsadā. // ApTha_1,1. // 
[๑๘๓] ศิษย์ของข้าพเจ้าไม่กำหนัดในวัตถุที่น่ากำหนัด
ไม่ขัดเคืองในวัตถุที่น่าขัดเคือง
ไม่ลุ่มหลงในวัตถุที่น่าลุ่มหลง หาผู้กระทบกระทั่งได้ยาก 
Iddhivīmaṃsamānā te vattanti niccakālikaṃ /
paṭhaviṃ te pakampenti sārambhena durāsadā. // ApTha_1,1. // 
[๑๘๔] ศิษย์ของข้าพเจ้านั้น หาผู้กระทบกระทั่งได้ยาก
ด้วยการแข่งดีทดลองแสดงฤทธิ์อยู่เป็นนิตย์
บันดาลให้แผ่นดินไหวได้ 
Kīḷamānā ca te sissā kīḷanti jhānakīḷitaṃ /
jambuto phalam ānenti mama sissā durāsadā. // ApTha_1,1. // 
[๑๘๕] ศิษย์ของข้าพเจ้านั้น หาผู้กระทบกระทั่งได้ยาก
เมื่อจะเล่น ก็เล่นฌาน(เข้าฌาน)
ไปนำผลหว้ามาได้ 
Aññe gacchanti Goyānaṃ aññe Pubbavidehanaṃ /
aññe Uttarakuruṃ ca mama sissā durāsadā. // ApTha_1,1. // 
[๑๘๖] ศิษย์ของข้าพเจ้านั้น พวกหนึ่งไปอปรโคยานทวีป
พวกหนึ่งไปปุพพวิเทหทวีป พวกหนึ่งไปอุตตรกุรุทวีป 
Purato khāriṃ pesenti pacchato ca vajanti te /
catuvīsaṃsahassehi chāditaṃ hoti ambaraṃ. // ApTha_1,1. // 
[๑๘๗] ศิษย์ของข้าพเจ้านั้น ส่งหาบ(บริขารดาบส)
ไปข้างหน้า ส่วนตนเองไปทีหลัง
ท้องฟ้าถูกดาบส ๑,๐๒๔ รูป ปิดบังไว้แล้ว 
Aggipākī anaggī ca dantodukkhalikā pi ca /
asmena koṭṭhikā keci pavattaphalabhojanā. // ApTha_1,1. // 
[๑๘๘] ศิษย์ของข้าพเจ้านั้น พวกหนึ่งเผา(ผลไม้น้อยใหญ่และผัก)ไฟฉัน
พวกหนึ่งไม่เผาไฟฉันดิบๆ พวกหนึ่งกระแทะเปลือกออกฉัน
พวกหนึ่งตำฉัน พวกหนึ่งเอาหินทุบฉัน
พวกหนึ่งฉันผลไม้ที่หล่นเอง 
Udakorohakā keci sāyaṃ pāto suciratā /
toyābhisekacaraṇā mama sissā durāsadā. // ApTha_1,1. // 
[๑๘๙] ศิษย์ของข้าพเจ้านั้น หาผู้กระทบกระทั่งได้ยาก
พวกหนึ่งรักความสะอาดลงอาบน้ำทั้งเช้าทั้งเย็น
พวกหนึ่งตักน้ำอาบ 
Parūḷhakacchanakhalomā paṅkadantā rajassirā /
gandhitā sīlagandhena mama sissā durāsadā. // ApTha_1,1. // 
[๑๙๐] ศิษย์ของข้าพเจ้า(ประพฤติวัตร)
ปล่อยเล็บมือเล็บเท้าและขนรักแร้ยาว
ขี้ฟันเขลอะ ศีรษะเปื้อนธุลี
แต่หอมด้วยกลิ่นศีล หาผู้กระทบกระทั่งได้ยาก 
(019) Pāto 'va sannipātetvā jaṭilā uggatāpanā /
labhālabhaṃ pakittetvā gacchanti ambare tadā. // ApTha_1,1. // 
[๑๙๑] ดาบสทั้งหลายผู้ทรงชฎา
มีตบะแก่กล้า ประชุมกันแต่เช้าแล้ว
ประกาศลาภน้อย ลาภใหญ่ให้ทราบแล้ว เหาะไปในท้องฟ้า 
Etesaṃ pakkamantānaṃ mahāsaddo pavattati /
ajinacammasaddena moditā honti devatā. // ApTha_1,1. // 
[๑๙๒] เมื่อดาบสเหล่านั้นเหาะไป เสียงดังย่อมสะพัดไป
ทวยเทพย่อมยินดีเพราะได้ยินเสียงหนังสัตว์ 
Disodisaṃ pakkamanti antalikkhacarā isī /
sakabalen’ upatthaddhā te gacchanti yadicchakaṃ. // ApTha_1,1. // 
[๑๙๓] ฤๅษีผู้เหาะไปทางอากาศไปสู่ทิศน้อยทิศใหญ่
ฤๅษีเหล่านั้นมีกำลังของตนอุปถัมภ์ จึงไปได้ตามปรารถนา 
Pathavīkampakā ete sabbe 'va nabhacārino /
uggatejā duppasahā sāgaro 'va akkhobhiyā. // ApTha_1,1. // 
[๑๙๔] ฤๅษีเหล่านั้นทั้งหมดทำแผ่นดินให้ไหว
เที่ยวไปในอากาศ มีเดชแผ่ไป
ใครๆ ไม่อาจข่มได้ ผู้อื่นไม่อาจให้หวั่นไหวได้
ดังสมุทรสาครที่ใครอื่นให้กระเพื่อมไม่ได้ 
Ṭhānacaṅkamiyā keci, keci nesajjikā isī /
pavattabhojanā keci mama sissā durāsadā. // ApTha_1,1. // 
[๑๙๕] ฤๅษีผู้เป็นศิษย์ของข้าพเจ้า
บางพวกยืนและเดินจงกรม บางพวกถือการนั่งเป็นวัตร
บางพวกฉันใบไม้ที่หล่นเอง หาผู้กระทบกระทั่งได้ยาก 
Mettāvihārino ete hitesī sabbapāṇinaṃ /
anattukkaṃsakā sabbe na te vambhenti kassaci. // ApTha_1,1. // 
[๑๙๖] ศิษย์ของข้าพเจ้าเหล่านั้นมีปกติอยู่ด้วยการแผ่เมตตา
แสวงหาประโยชน์เกื้อกูลแก่สรรพสัตว์
ไม่ยกตน ไม่ข่มใครๆ 
Sīharājā va 'sambhīto gajarājā va thāmavā /
durāsadā vyaggha-r-iva agacchanti mam antike. // ApTha_1,1. // 
[๑๙๗] ศิษย์ของข้าพเจ้านั้นไม่สะดุ้งกลัวอะไร
เหมือนราชสีห์ มีกำลังเหมือนพญาคชสาร
หาผู้กระทบกระทั่งได้ยาก
เหมือนพญาเสือโคร่ง ย่อมมาอยู่ใกล้ข้าพเจ้า 
Vijjādharā ca devatā nāga-gandhabba-rakkhasā /
kumbhaṇḍā dānavā garuḷā upajīvanti taṃ saraṃ. // ApTha_1,1. // 
[๑๙๘] พวกวิทยาธร พวกเทวดา นาค
คนธรรพ์ ผีเสื้อน้ำ กุมภัณฑ์ ทานพ(อสูร)
ครุฑ อาศัยสระนั้นหากิน 
Te jaṭā khāribhārikā ajinuttaravasino /
antalikkhacarā sabbe upajīvanti taṃ saraṃ. // ApTha_1,1. // 
[๑๙๙] ศิษย์ของข้าพเจ้าเหล่านั้นเกล้าชฎา
คอนบริขาร นุ่งห่มหนังสัตว์
เที่ยวไปในอากาศได้ทุกตน อาศัยสระนั้นหากิน 
Tadānucchavikā ete aññamaññaṃ sagāravā /
catubbīsaṃsahassānaṃ khittasaddo na vijjati. // ApTha_1,1. // 
[๒๐๐] ครั้งนั้น ศิษย์เหล่านั้นเป็นผู้เหมาะสมกันและกัน
มีความเคารพต่อกันและกัน
ศิษย์ ๑,๐๒๔ คน ไม่มีเสียงไอเสียงจามเลย 
Pāde pādaṃ nikkhipantā appasaddā susaṃvutā /
upasaṅkamma sabbe va sirasā vandare mamaṃ. // ApTha_1,1. // 
[๒๐๑] ศิษย์เหล่านั้นเดินเข้าแถวกัน เงียบเสียง
สำรวมดี ทั้งหมดเข้ามากราบข้าพเจ้าด้วยเศียรเกล้า 
Tehi sissehi parivuto santehi ca tapassihi /
vasāmi assame tattha jhāyī jhānarato ahaṃ. // ApTha_1,1. // 
[๒๐๒] ข้าพเจ้ามีปกติเข้าฌาน ยินดีในฌาน
อยู่ในอาศรมแห่งนั้นมีศิษย์เหล่านั้นแวดล้อม
ซึ่งเป็นผู้สงบ มีตบะ 
Isīnaṃ sīlagandhena pupphagandhena cūbhayaṃ /
phalinaṃ phalagandhena gandhito hoti assamo. // ApTha_1,1. // 
[๒๐๓] อาศรมของข้าพเจ้าหอมด้วยกลิ่น ๒ อย่าง
คือกลิ่นศีลของเหล่าฤๅษีและกลิ่นดอกไม้
ผลไม้ของต้นไม้ที่ผลิดอกออกผล 
Rattindivaṃ na jānāmi arati me na vijjati /
sake sisse ovadanto bhiyyo hāsaṃ labhām’ ahaṃ. // ApTha_1,1. // 
[๒๐๔] ข้าพเจ้าไม่รู้คืนและวัน
ความไม่พอใจมิได้มีแก่ข้าพเจ้า
ข้าพเจ้าสั่งสอนศิษย์ของตนได้ความร่าเริงอย่างยิ่ง 
Pupphānaṃ pupphamānānaṃ phalānaṃ cāpi paccataṃ /
dibbā gandhā pavāyanti sobhayantā mam’ assamaṃ. // ApTha_1,1. // 
[๒๐๕] เมื่อดอกไม้บานและผลไม้สุก
มีกลิ่นทิพย์หอมฟุ้งไป
ประดับอาศรมของข้าพเจ้าให้งดงาม 
(020) Samādhimhā vuṭṭhahitvā ātāpī nipako ahaṃ /
khāribhāraṃ gahetvāna vanam ajjhogahiṃ ahaṃ. // ApTha_1,1. // 
[๒๐๖] ข้าพเจ้าออกจากสมาธิแล้ว
มีความเพียรเผากิเลส มีปัญญารักษาตน
คอนหาบบริขาร(ดาบส)เข้าป่าไป 
Uppāde supine cāpi lakkhaṇe susikkhito /
pavattamānaṃ mantapadaṃ dharayāmi ahaṃ tadā. // ApTha_1,1. // 
[๒๐๗] ครั้งนั้น ข้าพเจ้าได้ศึกษาจนชำนาญ
ในลางบอกเหตุ ในความฝันและในลักษณะทั้งหลาย
ทรงจำบทแห่งมนตร์ที่แพร่หลายอยู่ 
Anomadassī bhagavā lokajeṭṭho narāsabho /
vivekakāmo sambuddho Himavantam upāgamī. // ApTha_1,1. // 
[๒๐๘] พระผู้มีพระภาคทรงพระนามว่าอโนมทัสสี
ผู้เจริญที่สุดในโลก ทรงองอาจกว่านรชน
ทรงประสงค์วิเวก ตรัสรู้เองโดยชอบ
จึงเสด็จเข้าไปยังป่าหิมพานต์ 
Ajjhogahetvā Himavantam aggo kāruṇiko muni /
pallaṅkam ābhujitvāna nisīdi purisuttamo. // ApTha_1,1. // 
[๒๐๙] พระองค์ผู้เป็นมุนีผู้เลิศ
ทรงประกอบด้วยพระกรุณา ผู้สูงสุดแห่งบุรุษ
เสด็จถึงป่าหิมพานต์แล้วประทับนั่งขัดสมาธิ 
Tatth’ addasāsiṃ sambuddhaṃ sappabhāsaṃ manoramaṃ /
indīvaraṃ va jalitaṃ ādittaṃ va hutāsanaṃ. // ApTha_1,1. // 
[๒๑๐] ข้าพเจ้าได้พบเห็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ทรงมีแสงสว่างเจิดจ้า น่ารื่นรมย์ใจ
ทรงรุ่งเรืองดังดอกบัวเขียว
เป็นดุจแท่นบูชาไฟ สว่างเจิดจ้า 
Jalantaṃ dīparukkhaṃ va vijjuṃ abbhaghane yathā /
suphullaṃ sālarājaṃ va addasaṃ lokanāyakaṃ. // ApTha_1,1. // 
[๒๑๑] ข้าพเจ้าได้พบเห็นพระองค์ผู้ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก
ทรงรุ่งเรืองดุจต้นพฤกษาประทีป12
ดุจสายฟ้าสว่างจ้ากลางอากาศ
ดุจต้นพญาไม้สาละ มีดอกบานสะพรั่งอยู่ 
Ayaṃ nāgo mahāvīro dukkhass’ antakaro muni /
idaṃ dassanam āgamma sabbe dukkhā pamuccare. // ApTha_1,1. // 
[๒๑๒] พระผู้มีพระภาคพระองค์นี้ทรงเป็นผู้ประเสริฐ
มีความเพียรมาก เป็นพระมุนีผู้กระทำที่สุดทุกข์ได้แล้ว
เวไนยสัตว์ได้อาศัยการพบเห็นนี้แล้ว
ย่อมพ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้ 
Sahassārāni cakkāni dissanti caraṇuttame /
lakkhaṇāni 'ssa disvāna niṭṭhaṃ gacchiṃ Tathāgate. // ApTha_1,1. // 
[๒๑๔] ที่พื้นฝ่าพระบาทอันยอดเยี่ยมปรากฏมีจักรมีกำตั้งพัน
ข้าพเจ้าได้เห็นลักษณะทั้งหลายของพระองค์แล้ว
จึงถึงความแน่ใจในพระตถาคต 
Sammajjaniṃ gahetvāna sammajjitvān’ ahaṃ tadā /
aṭṭha pupphe samānetva buddhaseṭṭham apūjayiṃ. // ApTha_1,1. // 
[๒๑๕] ครั้งนั้น ข้าพเจ้าได้หยิบไม้กวาดมากวาดสถานที่นั้นแล้ว
ได้นำดอกไม้มา ๘ ดอก บูชาพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุด 
Pūjayitvāna taṃ buddhaṃ oghatiṇṇaṃ anāsavaṃ /
ekaṃsaṃ ajinaṃ katvā namassiṃ lokanāyakaṃ. // ApTha_1,1. // 
[๒๑๖] ครั้นข้าพเจ้าบูชาพระพุทธเจ้า ผู้ข้ามพ้นโอฆะได้แล้ว
ไม่มีอาสวะ พระองค์นั้นแล้ว
จึงห่มหนังสัตว์เฉวียงบ่า
นมัสการพระองค์ผู้ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก 
Yena ñāṇena sambuddho viharati anāsavo /
taṃ ñāṇaṃ kittayissāmi; suṇātha mama bhāsato: // ApTha_1,1. // 
[๒๑๗] พระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ไม่มีอาสวะ
ประทับอยู่ด้วยพระญาณอันใด
ข้าพเจ้าจักประกาศพระญาณอันนั้น
ขอท่านทั้งหลายจงฟังข้าพเจ้ากล่าวเถิด 
Samuddharas’ imaṃ lokaṃ sayambhu amitodaya /
tava dassanam āgamma kaṅkhāsotaṃ taranti te. // ApTha_1,1. // 
[๒๑๘] (ดาบสสุรุจิกล่าวชมเชยพระผู้มีพระภาคอโนมทัสสีว่า)
ข้าแต่พระสยัมภู ผู้มีพระคุณหาประมาณมิได้
ขอพระองค์จงทรงช่วยสัตว์โลกนี้ให้พ้นจากสังสารวัฏเถิด
สัตว์เหล่านั้นอาศัยการพบเห็นพระองค์แล้ว
จะข้ามกระแสแห่งความสงสัยได้ 
Tuvaṃ satthā ca ketu ca dhajo yūpo ca pāṇinaṃ /
parāyano patiṭṭhā ca dīpo ca dipaduttamo. // ApTha_1,1. // 
[๒๑๙] พระองค์ทรงเป็นศาสดา เป็นยอด
เป็นธงชัย เป็นเสาหลัก เป็นจุดมุ่งหมาย เป็นที่พึ่ง
เป็นดุจดวงประทีปของเหล่าสัตว์
เป็นผู้สูงสุดแห่งเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย 
Sakkā samudde udakaṃ pametum āḷhakena vā /
na tveva tava sabbaññū ñāṇaṃ sakkā pametave. // ApTha_1,1. // 
[๒๒๐] ข้าแต่พระสัพพัญญู
น้ำในมหาสมุทรสามารถที่จะประมาณได้ด้วยมาตราตวง
แต่พระญาณของพระองค์ไม่มีใครสามารถจะประมาณได้เลย 
Dhāretuṃ pathaviṃ sakkā ṭhapetvā tulamaṇḍale /
na tveva tava sabbaññū ñāṇaṃ sakkā pametave. // ApTha_1,1. // 
[๒๒๑] ข้าแต่พระสัพพัญญู
แผ่นดินยังสามารถที่จะนำมาวางไว้บนตราชั่งแล้วชั่งดูได้
แต่พระญาณของพระองค์ ไม่มีใครสามารถจะชั่งดูได้ 
(021) Ākāsaṃ minituṃ sakkā rajjuyā aṅgulena vā /
na tveva tava sabbaññū ñāṇaṃ sakkā pametave. // ApTha_1,1. // 
[๒๒๒] ข้าแต่พระสัพพัญญู
อากาศยังสามารถที่จะใช้เชือกหรือนิ้วมือวัดดูได้
แต่พระญาณของพระองค์ ไม่มีใครสามารถจะวัดดูได้ 
Mahāsamudde udakaṃ paṭhaviṃ cākhilañ jahe /
buddhañāṇaṃ upādāya upamā te na yujjare. // ApTha_1,1. // 
[๒๒๓] น้ำในมหาสมุทรทั้งหมดและแผ่นดินทั้งสิ้น
บุคคลก็ยังข้ามได้ แต่พระพุทธญาณ
ไม่ควรโดยการนำมาเปรียบเทียบ 
Sadevakassa lokassa cittaṃ yesaṃ pavattati /
antojālagatā ete tava ñāṇamhi cakkhumā. // ApTha_1,1. // 
[๒๒๔] ข้าแต่พระองค์ผู้มีพระจักษุ
จิตของสัตว์เหล่าใดแล่นไปในโลกพร้อมทั้งเทวโลก
สัตว์ผู้มีจิตเหล่านั้นได้อยู่ในข่ายคือญาณของพระองค์ 
Yena ñāṇena patto 'si kevalaṃ bodhim uttamaṃ /
tena ñāṇena sabbaññū maddasi paratitthiye. // ApTha_1,1. // 
[๒๒๕] ข้าแต่พระสัพพัญญู
พระองค์ทรงบรรลุพระโพธิญาณ อย่างสูงสุดทั้งสิ้นด้วยพระญาณใด
พระองค์ทรงย่ำยีอัญเดียรถีย์ทั้งหลายด้วยพระญาณนั้น 
Imā gāthā paṭhitvāna Suruci nāma tāpaso /
ajinaṃ pattharitvāna paṭhaviyaṃ nisīdi so. // ApTha_1,1. // 
[๒๒๖] (พระเถระทั้งหลายผู้ทำสังคายนากล่าวว่า)
ท่านสุรุจิดาบสนั้น ครั้นกล่าวคาถาเหล่านี้แล้ว
จึงปูลาดหนังสัตว์นั่งลงบนแผ่นดิน 
Cullāsītisahassāni ajjhogāḷho mahaṇṇave /
accuggato tāvad eva girirājā pavuccati. // ApTha_1,1. // 
[๒๒๗] (ดาบสสุรุจินั่งอยู่ ณ ที่นั้นแล้วกล่าวว่า)
ผู้คนกล่าวกันในบัดนี้ว่า
ขุนเขา หยั่งลงในห้วงมหรรณพ ๘๔,๐๐๐ โยชน์
สูงขึ้นไป ๘๔,๐๐๐ โยชน์เช่นกัน 
Tāva accuggato Neru āyato vitthato ca so /
cuṇṇito aṇubhedena koṭisatasahassiyo // ApTha_1,1. // 
[๒๒๘] ภูเขาสิเนรุก็สูงสุดเท่านั้น ภูเขาสิเนรุนั้น
ทั้งด้านยาว ทั้งด้านกว้างถึงเพียงนั้น
ก็ยังถูกบดให้ละเอียดเป็นแสนโกฏิด้วยการนับ 
lakkhe ṭhapīyamānamhi parikkhayam agacchatha; /
na tveva tava sabbaññū ñāṇaṃ sakkā pametave. // ApTha_1,1. // 
[๒๒๙] ข้าแต่พระสัพพัญญู เมื่อตั้งคะแนนไว้
ผงแห่งภูเขาสิเนรุก็จะพึงหมดสิ้นไปก่อน
แต่พระญาณของพระองค์ ไม่มีใครสามารถจะนับได้ 
Sukhumacchikena jālena udakaṃ yo parikkhipe /
ye keci udake pāṇā antojālagatā siyuṃ. // ApTha_1,1. // 
[๒๓๐] ผู้ใดพึงเอาข่ายตาถี่ๆ ขึงล้อมน้ำไว้
สัตว์น้ำทั้งหมดที่มีอยู่ก็จะพึงเข้าไปอยู่ภายในข่าย ฉันใด 
Tath’ eva hi mahāvīra ye keci puthutitthiyā /
ditthīgahanapakkhannā parāmasena mohitā. // ApTha_1,1. // 
[๒๓๑] ข้าแต่พระองค์ผู้มีความเพียรมาก
เดียรถีย์มากมายบางพวกก็ฉันนั้นเหมือนกัน
ย่อมเข้าไปสู่ป่าทึบคือทิฏฐิ ถูกความยึดถือทำให้ลุ่มหลง 
Tava suddhena ñāṇena anāvaraṇadassinā /
antojālagatā ete ñāṇaṃ te nātivattare. // ApTha_1,1. // 
[๒๓๒] เดียรถีย์เหล่านั้นเข้าไปภายในข่าย
เพราะพระญาณอันบริสุทธิ์ของพระองค์
ซึ่งมีปกติเห็นสรรพสิ่ง ไม่มีอะไรขัดขวาง
เดียรถีย์เหล่านั้นหาล่วงเลยพระญาณของพระองค์ไปไม่ 
Bhagavā ca tamhi samaye Anomadassī mahāyaso /
vuṭṭhahitvā samādhimhā disaṃ olokayī jino. // ApTha_1,1. // 
[๒๓๓] ก็สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคชินเจ้าพระนามว่าอโนมทัสสี
ผู้มีพระยศยิ่งใหญ่ ออกจากสมาธิแล้วตรวจดูทิศ 
Anomadassī-munino Nisabho nāma sāvako /
parivuto satasahassehi santacittehi tādihi. // ApTha_1,1. // 
[๒๓๔] พระสาวกนามว่านิสภะ ของพระผู้มีพระภาค
พระนามว่าอโนมทัสสี
ผู้เป็นมุนี มีภิกษุ ๑๐๐,๐๐๐ รูป
เป็นผู้มีจิตสงบ ผู้คงที่ แวดล้อมแล้ว 
Khīṇāsavehi suddhehi chaḷabhiññehi tādihi /
cittam aññāya buddhassa upesi lokanāyakaṃ. // ApTha_1,1. // 
[๒๓๕] ผู้สิ้นอาสวะแล้ว ผู้บริสุทธิ์ ผู้ได้อภิญญา ๖
ผู้คงที่ ทราบพระดำริของพระพุทธเจ้าแล้ว
จึงเข้าเฝ้าพระองค์ผู้ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก 
Antalikkhe ṭhitā tattha padakkhiṇam akaṃsu te /
namassantā pañjalikā orohuṃ buddhasantike. // ApTha_1,1. // 
[๒๓๖] สาวกเหล่านั้นยืนกลางอากาศ ณ ที่ใกล้พระผู้มีพระภาคนั้น
ได้กระทำประทักษิณ ประนมมือ
นมัสการแล้วลงมาเฝ้า ณ สำนักพระพุทธเจ้า 
Anomadassī bhagavā lokajeṭṭho narāsabho /
bhikkhusaṅghe nisīditvā sitaṃ pātukarī jino. // ApTha_1,1. // 
[๒๓๗] พระผู้มีพระภาคชินเจ้าพระนามว่าอโนมทัสสี
ผู้เจริญที่สุดในโลก ผู้องอาจกว่านรชน
ประทับนั่งในท่ามกลางหมู่ภิกษุแล้วทรงแย้มพระโอษฐ์ให้ปรากฏ 
Varuṇo nām’ upaṭṭhāko sabbaññussa mahesino /
ekaṃsaṃ cīvaraṃ katvā apucchi lokanāyakaṃ: // ApTha_1,1. // 
[๒๓๘] พระสาวกนามว่าวรุณะ
ผู้เป็นอุปัฏฐากของพระศาสดาพระนามว่าอโนมทัสสี
ห่มผ้าเฉวียงบ่า แล้วทูลถามพระองค์ผู้ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลกว่า 
(022) Ko nu kho bhagavā hetu sitakammassa satthuno? /
na hi buddhā ahetuhi sitaṃ pātukaronti te. // ApTha_1,1. // 
[๒๓๙] ข้าแต่พระผู้มีพระภาค อะไรหนอ
เป็นเหตุให้พระศาสดาทรงแย้มพระโอษฐ์
ธรรมดาพระพุทธเจ้าทั้งหลายนั้นจะไม่ทรงแย้มพระโอษฐ์ โดยไม่มีเหตุ 
Anomadassī bhagavā lokajeṭṭho narāsabho /
saṅghamajjhe nisīditvā imaṃ gāthaṃ abhāsatha: // ApTha_1,1. // 
[๒๔๐] พระผู้มีพระภาคพระนามว่าอโนมทัสสี
ผู้เจริญที่สุดในโลก ผู้องอาจกว่านรชน
ประทับนั่งในท่ามกลางหมู่ภิกษุแล้ว ได้ตรัสพระคาถานี้ว่า 
Yo maṃ pupphena pūjesi ñāṇañ cāpi anutthunī /
tam ahaṃ kittayissāmi; suṇātha mama bhāsato: // ApTha_1,1. // 
[๒๔๑] เราจักพยากรณ์ดาบสผู้ที่ใช้ดอกไม้บูชาเรา
และชมเชยญาณของเราเนืองๆ
ขอท่านทั้งหลายจงฟังเรากล่าวเถิด 
Buddhassa giram aññāya sabbe devā samāgatā /
saddhammaṃ sotukāmā te sambuddham upasaṅkamuṃ. // ApTha_1,1. // 
[๒๔๒] เทวดาทั้งปวง ทราบพระดำรัสของพระพุทธเจ้าแล้วมาประชุมกัน
เทวดาเหล่านั้น ประสงค์จะฟังพระสัทธรรม
จึงเข้าเฝ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้า 
Dasasu lokadhātūsu devakāyā mahiddhikā /
saddhammaṃ sotukāmā te sambuddham upasaṅkamuṃ. // ApTha_1,1. // 
[๒๔๓] หมู่เทวดาผู้มีฤทธิ์มากทั้ง ๑๐ โลกธาตุ เหล่านั้น
ประสงค์จะฟังพระสัทธรรมจึงเข้าเฝ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้า 
Hatthī assā rathā pattī senā ca caturaṅginī /
parivārenti taṃ niccaṃ buddhapūjāy’ idaṃ phalaṃ. // ApTha_1,1. // 
[๒๔๔] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า) กองทัพ ๔ เหล่า
คือ พลช้าง พลม้า พลรถ พลเดินเท้า
จักแวดล้อมผู้นี้เป็นนิตย์
นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า 
Saṭṭhiṃturiyasahassāni bheriyo samalaṅkatā /
upaṭṭhissanti taṃ niccaṃ buddhapūjāy’ idaṃ phalaṃ. // ApTha_1,1. // 
[๒๔๕] เครื่องดนตรี ๑,๐๖๐ ชิ้น
กลองที่ประดับตกแต่งสวยงาม
จักบำรุงบำเรอผู้นี้เป็นนิตย์
นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า 
Soḷasitthisahassāni nāriyo samalaṅkatā /
vicittavatthābharaṇā āmuttamaṇikuṇḍalā // ApTha_1,1. // 
[๒๔๖] สตรีสาวล้วน ๑๖,๐๐๐ นาง ประดับตกแต่งสวยงาม
สวมใส่ผ้าอาภรณ์อย่างงดงาม ห้อยตุ้มหูแก้วมณี 
Aḷārapamhāhasulā su-soññā tanumajjhimā /
parivārenti taṃ niccaṃ buddhapūjāy’ idaṃ phalaṃ. // ApTha_1,1. // 
[๒๔๗] มีหน้ากลมโต มีปกติร่าเริง รูปร่างงาม
เอวเล็กเอวบาง จักแวดล้อมผู้นี้เป็นนิตย์
นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า 
Kappasatasahassāni devaloke ramissati /
sahassakkhattuṃ cakkavattī rājā raṭṭhe bhavissati. // ApTha_1,1. // 
[๒๔๘] ผู้นี้จักรื่นรมย์ในเทวโลกตลอด ๑๐๐,๐๐๐ กัป
จักเป็นพระเจ้าจักรพรรดิในแว่นแคว้น ๑,๐๐๐ ชาติ 
Sahassakkhattuṃ devindo devarajjaṃ karissati /
padesarajjaṃ vipulaṃ gaṇanāto asaṅkhiyaṃ. // ApTha_1,1. // 
[๒๔๙] จักเป็นจอมเทพครองเทวสมบัติ ๑,๐๐๐ ชาติ
จักได้เป็นพระเจ้าประเทศราชอันไพบูลย์นับชาติไม่ถ้วน 
Pacchime bhave sampatte manussattaṃ gamissati /
brāhmaṇī Sāriyā nāma dhārayissati kucchinā. // ApTha_1,1. // 
[๒๕๐] เมื่อภพสุดท้ายมาถึง ผู้นี้จักไปเกิดเป็นมนุษย์
นางพราหมณีชื่อสารี จักตั้งครรภ์ 
Mātuyā nāmagottena paññāyissati yaṃ naro /
Sāriputto ti nāmena tikkhapañño bhavissati. // ApTha_1,1. // 
[๒๕๑] ผู้นี้จักปรากฏนามว่าสารีบุตร
ตามชื่อและโคตรของมารดา จักเป็นผู้มีปัญญาหลักแหลม 
Asītikoṭī chaḍḍetvā pabbajissati 'kiñcano /
gavesanto santipadaṃ carissati mahim imaṃ. // ApTha_1,1. // 
[๒๕๒] จักเป็นผู้ไม่มีความกังวล
ละทิ้งทรัพย์ประมาณ ๘๐ โกฏิแล้วออกบวช
เที่ยวแสวงหาทางแห่งความสงบทั่วแผ่นดินนี้ 
Aparimeyye ito kappe Okkākakulasambhavo /
Gotamo nāmagottena satthā loke bhavissati. // ApTha_1,1. // 
[๒๕๓] ในกัปที่นับมิได้นับจากกัปนี้ไป
พระศาสดาพระนามว่าโคดม ตามพระโคตร
ทรงสมภพในราชสกุลโอกกากราช จักอุบัติขึ้นในโลก 
Tassa dhammesu dāyādo oraso dhammanimmito /
Sāriputto ti nāmena hessati aggasāvako. // ApTha_1,1. // 
[๒๕๔] ดาบสนี้จักมีนามว่าสารีบุตร
เป็นธรรมทายาท เป็นโอรสที่ธรรมเนรมิต
จักเป็นอัครสาวกของพระศาสดาพระองค์นั้น 
(023) Ayaṃ Bhāgīrasī Gaṅgā Himavantā pabhāvita /
mahāsamuddaṃ appeti tappayantī mahodadhiṃ. // ApTha_1,1. // 
[๒๕๕] แม่น้ำภาคีรถีนี้ไหลมาจากภูเขาหิมพานต์
ไหลลงสู่มหาสมุทร ทำมหาสมุทรให้เต็ม ฉันใด 
Tath’ evāyaṃ Sāriputto Sāketīsu visārado /
paññāya pāramiṃ gantvā tappayissati pāṇino. // ApTha_1,1. // 
[๒๕๖] สารีบุตรนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
จักเป็นผู้สามารถแกล้วกล้าในไตรเพท
จักสำเร็จปัญญาบารมี แล้วให้หมู่สัตว์อิ่มเอิบได้ 
Himavantam upādāya sāgarañ ca mahodadhiṃ /
etthantare yaṃ puliṇaṃ gaṇanāto asaṅkhiyaṃ. // ApTha_1,1. // 
[๒๕๗] ตั้งแต่ป่าหิมพานต์จนถึงทะเลมีห้วงน้ำกว้างใหญ่
ในช่วงระหว่างนี้ มีกองทรายอยู่ขนาดเท่าใด
คำนวณนับไม่ได้ 
Tam pi sakkā asesena saṅkhātuṃ gaṇanā yathā /
na tveva Sāriputtassa paññāy’ anto bhavissati. // ApTha_1,1. // 
[๒๕๘] แม้กองทรายขนาดเท่านั้นสามารถจะคำนวณนับได้
โดยไม่มีเหลือด้วยการนับวิธีใด
แต่ปัญญาของสารีบุตรจะมีที่สุดโดยวิธีนับนั้นๆ ก็หามิได้ 
Lakkhe ṭhapīyamānamhi khīye Gaṅgāya vālukā /
na tveva Sāriputtassa paññāy’ anto bhavissati. // ApTha_1,1. // 
[๒๕๙] เมื่อตั้งคะแนนไว้
บรรดาทรายในแม่น้ำคงคาก็จะพึงหมดสิ้นไป
แต่ปัญญาของสารีบุตรหาหมดสิ้นไปไม่ 
Mahāsamudde ūmiyo gaṇanāto asaṅkhiyā /
tath’ eva Sāriputtassa paññāy’ anto na hessati. // ApTha_1,1. // 
[๒๖๐] คลื่นในมหาสมุทรคำนวณนับไม่ได้
ปัญญาของสารีบุตร จักไม่มีที่สุดอย่างนั้นเหมือนกัน 
Ārādhayitvā sambuddhaṃ Gotamaṃ Sakyapuṅgavaṃ /
paññāya pāramiṃ gantvā hessati aggasāvako. // ApTha_1,1. // 
[๒๖๑] สารีบุตรนั้นจักทำให้พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
โคดมศากยะผู้ประเสริฐ ทรงโปรดปรานแล้ว
สำเร็จปัญญาบารมีเป็นอัครสาวก(ของพระองค์) 
Pavattitaṃ dhammacakkaṃ Sakyaputtena tādinā /
anuvattessati sammā vassanto dhammavuṭṭhiyo. // ApTha_1,1. // 
[๒๖๒] สารีบุตรนั้น จักประพฤติตามพระธรรมจักร
ที่พระผู้มีพระภาคผู้ศากยบุตร
ผู้คงที่ ทรงประกาศไว้แล้ว
บันดาลเม็ดฝนคือธรรมให้ตกลงโดยชอบ 
Sabbam etam abhiññāya Gotamo Sakyapuṅgavo /
bhikkhusaṅghe nisīditvā aggaṭṭhāne ṭhapessati. // ApTha_1,1. // 
[๒๖๓] พระผู้มีพระภาคผู้โคดมศากยะผู้ประเสริฐ
ทรงทราบความนั้นทั้งหมดแล้ว
ประทับนั่งในท่ามกลางหมู่ภิกษุ
จักทรงตั้ง(สารีบุตร)ไว้ในตำแหน่งอัครสาวก 
Aho me sukataṃ kammaṃ Anomadassissa satthuno /
yassāhaṃ kāraṃ katvāna sabbattha pāramiṅgato. // ApTha_1,1. // 
[๒๖๔] โอ ! กรรมที่ข้าพเจ้าได้ทำบุญญาธิการ
แด่พระศาสดาพระนามว่าอโนมทัสสีแล้ว
สำเร็จบารมีในจำนวนคุณทั้งสิ้น
ชื่อว่าเป็นกรรมที่ทำไว้ดีแล้วหนอ 
Aparimeyye kataṃ kammaṃ phalaṃ dassesi me idha /
sumutto saravego 'va kilese jhāpayiṃ ahaṃ. // ApTha_1,1. // 
[๒๖๕] กรรมที่ข้าพเจ้าได้ทำไว้ในกาลที่จะกำหนดจำนวนมิได้
แสดงผลแก่ข้าพเจ้าแล้วในอัตภาพสุดท้ายนี้
ข้าพเจ้าหลุดพ้นดีแล้ว ดุจความเร็วแห่งลูกศรพ้นไปจากแล่ง
เผากิเลสทั้งหลายได้แล้ว 
Asaṅkhataṃ gavesanto nibbānaṃ acalaṃ padaṃ /
vicinaṃ titthiye sabbe esāhaṃ saṃsariṃ bhave. // ApTha_1,1. // 
[๒๖๖] ข้าพเจ้านั้น เมื่อเที่ยวแสวงหาทาง
ที่ไม่หวั่นไหวคือนิพพาน อันปัจจัยปรุงแต่งไม่ได้
เลือกเฟ้นเจ้าลัทธิทั้งปวงจึงเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในภพ 
Yathāpi vyādhito poso pariyeseyya osadhaṃ /
vicineyyā vanaṃ sabbaṃ vyādhino parimuttiyā // ApTha_1,1. // 
[๒๖๗] คนเป็นไข้พึงแสวงหายารักษา
พึงสะสมทรัพย์ทั้งปวงไว้เพื่อพ้นจากความเจ็บไข้ ฉันใด 
asaṅkhataṃ gavesanto nibbānaṃ amataṃ padaṃ /
avyākiṇṇaṃ pañcasataṃ pabbajiṃ isipabbajjaṃ // ApTha_1,1. // 
[๒๖๘] ข้าพเจ้าก็ฉันนั้น เมื่อเที่ยวแสวงหาทาง
คืออมตนิพพานอันปัจจัยปรุงแต่งไม่ได้
จึงได้บวชเป็นฤๅษี ๕๐๐ ชาติ ติดต่อกัน 
Jaṭābhārena bharito ajinuttaranivās’ ahaṃ /
abhiññāpāramiṃ gantvā brahmalokaṃ agacch’ ahaṃ // ApTha_1,1. // 
[๒๖๙] ข้าพเจ้าเพียบพร้อมด้วยชฎาและภาระ(บริขาร)
นุ่งห่มหนังสัตว์ สำเร็จอภิญญา ได้ไป(เกิด)ยังพรหมโลก 
(024) N’ atthi bāhirake buddhī ṭhapetvā jinasāsanaṃ /
ye keci buddhimā sattā bujjhanti jinasāsanaṃ. // ApTha_1,1. // 
[๒๗๐] เว้นศาสนาของพระชินเจ้าเสียแล้ว
ก็หาความบริสุทธิ์ในลัทธิภายนอกไม่ได้
เหล่าสัตว์ผู้มีปัญญาย่อมบริสุทธิ์ได้ในศาสนาของพระชินเจ้า 
Atthakāmaṃ mamam etaṃ nayidaṃ iti 'haṃ tadā /
asaṅkhataṃ gavesanto kutitthaṃ sañcarim ahaṃ. // ApTha_1,1. // 
[๒๗๑] สิ่งที่สำเร็จด้วยการทำของตนนั้น
ไม่เป็นดังที่ได้ยินกันต่อๆ มาว่า เป็นอย่างนี้ๆ
ข้าพเจ้าเมื่อแสวงหาทางที่ปัจจัยปรุงแต่งไม่ได้
จึงเที่ยวไปในลัทธิที่ผิด 
Yathā sāratthiko poso kadaliṃ chetvā phālaye /
na tattha sāraṃ vindeyyā sārena rittako hi so. // ApTha_1,1. // 
[๒๗๒] คนที่ต้องการแก่นไม้ตัดต้นกล้วยแล้วผ่า
ก็จะไม่พึงได้แก่นไม้ในต้นกล้วยนั้น
เขาย่อมเป็นผู้ไร้แก่นไม้ ฉันใด 
Tath’ eva titthiyā loke nānādiṭṭhī bahujjanā /
asaṅkhatena rittā va sārena kadalī yathā. // ApTha_1,1. // 
[๒๗๓] เหล่าเดียรถีย์ทั้งหลายในโลกก็ฉันนั้น
มีทิฏฐิต่างกัน ถึงจะมีจำนวนมาก
ก็เป็นผู้ว่างเปล่าจากนิพพานอันปัจจัยปรุงแต่งไม่ได้
ดุจต้นกล้วยว่างเปล่าจากแก่นไม้ ฉะนั้น 
Pacchime bhave sampatte brahmabandhu ahos’ ahaṃ /
koṭiyo sataṃ chaḍḍayitvā pabbajim anāgāriyaṃ. // ApTha_1,1. // 
[๒๗๔] เมื่อภพสุดท้ายมาถึง ข้าพเจ้าเกิดเป็นบุตรของพราหมณ์
ได้ละทิ้งโภคสมบัติมากมายแล้วออกบวชเป็นบรรพชิต 
Paṭhamaka-bhāṇavāraṃ. 
ภาณวารที่ ๑ จบ 
Ajjhāyako mantadharo tiṇṇaṃ vedāna pāragū /
brāhmaṇo Sañjayo nāma tassa mūle vasām’ ahaṃ. // ApTha_1,1. // 
[๒๗๕] (พระสารีบุตรเถระกราบทูลว่า) ข้าพระองค์อยู่ในสำนักของพราหมณ์นามว่าสัญชัย
ซึ่งเป็นผู้คงแก่เรียน ทรงมนตร์ จบไตรเพท 
Sāvako te mahāvīra Assaji nāma brāhmaṇo /
durāsado uggatejo piṇḍāya carati sadā. // ApTha_1,1. // 
[๒๗๖] ข้าแต่พระองค์ผู้มีความเพียรมาก พราหมณ์นามว่าอัสสชิ
สาวกของพระองค์ ซึ่งหาผู้กระทบกระทั่งได้ยาก
มีเดชแผ่ไป เที่ยวบิณฑบาตในครั้งนั้น 
Tam addasāsiṃ sappaññaṃ muniṃ mone samāhitaṃ /
santacittaṃ mahānāgaṃ suphullaṃ padumaṃ yathā. // ApTha_1,1. // 
[๒๗๗] ข้าพระองค์ได้เห็นท่านผู้ประเสริฐนั้น ผู้มีปัญญา
เป็นมุนี มีจิตตั้งมั่นในความเป็นมุนี
มีจิตสงบ เบิกบานดุจดอกปทุมที่แย้มบาน 
Disvā me cittaṃ uppajji sudantaṃ suddhamānasaṃ /
usabhaṃ pavaraṃ vīraṃ arahāyaṃ bhavissati. // ApTha_1,1. // 
[๒๗๘] เพราะเห็นท่านผู้ฝึกฝนดีแล้ว
มีจิตบริสุทธิ์ องอาจ ประเสริฐ มีความเพียร
ความคิดของข้าพเจ้าจึงเกิดขึ้นว่า
ท่านผู้นี้คงจะเป็นพระอรหันต์ 
Pāsādiko iriyati abhirūpo susaṃvuto /
uttame damathe danto amatadassī bhavissati. // ApTha_1,1. // 
[๒๗๙] ท่านผู้นี้ เคลื่อนไหวกิริยาท่าทางน่าเลื่อมใส
รูปงาม สำรวมดี ฝึกฝนแล้วในอุบายเครื่องฝึกอย่างสูงสุด
คงจะเป็นผู้เห็นทางอมตะ 
Yannūnāhaṃ uttamatthaṃ puccheyyaṃ tuṭṭhamānasaṃ /
so me puṭṭho kathessati paṭipucchām’ ahaṃ tadā. // ApTha_1,1. // 
[๒๘๐] ทางที่ดี เราควรจะถามท่านผู้มีประโยชน์อย่างสูงสุด
ผู้มีจิตยินดี หากท่านถูกเราถามแล้วจักตอบ
เราก็จะย้อนถามท่านอีก ในครั้งนั้น 
Piṇḍacāraṃ carantassa pacchato agamās’ ahaṃ /
okāsaṃ paṭimānento pucchituṃ amataṃ padaṃ. // ApTha_1,1. // 
[๒๘๑] ข้าพระองค์ได้เดินตามไปข้างหลังท่านผู้กำลังเที่ยวบิณฑบาต
รอคอยโอกาสอยู่เพื่อจะสอบถามทางอมตะ 
Vīthantare anuppattaṃ upagantvā apucchi 'haṃ: /
Kathaṃ gotto 'si tvaṃ dhīra12; kassa sisso 'si marisa? // ApTha_1,1. // 
[๒๘๒] จึงเข้าไปหาท่านซึ่งอยู่ในระหว่างถนนแล้วถามว่า
ข้าแต่ท่านผู้นิรทุกข์ ผู้มีความเพียร
ท่านมีโคตรตระกูลอย่างไร เป็นศิษย์ของใคร 
So me puṭṭho vyākāsi asambhīto va kesarī: /
Buddho loke samuppanno tassa sisso 'mhi sāvako. // ApTha_1,1. // 
[๒๘๓] ท่านถูกข้าพระองค์ถามแล้วก็ไม่ครั่นคร้าม
เป็นดังพญาไกรสรราชสีห์ตอบว่า
ท่านผู้มีอายุ พระพุทธเจ้าเสด็จอุบัติขึ้นแล้วในโลก
อาตมาเป็นศิษย์ของพระองค์ 
(025) Kīdisaṃ te mahāvīra anujāta-mahāyaso /
buddhassa sāsanaṃ dhammaṃ sādhu me kathayass’ ubho. // ApTha_1,1. // 
[๒๘๔] (ข้าพระองค์ได้ถามต่อไปว่า)
ข้าแต่ท่านผู้มีความเพียรมาก ท่านผู้มียศยิ่งใหญ่เกิดตามมา
ศาสนธรรมของพระพุทธเจ้าของท่านเป็นเช่นไร
ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าขอโอกาส
ขอท่านโปรดบอกแก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด 
So me puṭṭho kathī sabbaṃ gambhīraṃ nipuṇaṃ padaṃ /
taṇhasallassa hantāraṃ sabbadukkhapanūdanaṃ. // ApTha_1,1. // 
[๒๘๕] ท่านถูกข้าพระองค์ถามแล้ว
จึงแสดงบททุกบทที่ลึกซึ้งละเอียด
สำหรับกำจัดลูกศรคือตัณหา
สำหรับเป็นเครื่องบรรเทาทุกข์ทั้งปวงว่า 
Ye dhammā hetuppabhavā tesaṃ hetuṃ Tathāgato āha /
tesañ ca yo nirodho evaṃ vādi mahāsamaṇo. // ApTha_1,1. // 
[๒๘๖] ธรรมเหล่าใดเกิดแต่เหตุ
พระตถาคตตรัสเหตุแห่งธรรมเหล่านั้น
และความดับแห่งธรรมเหล่านั้น
พระมหาสมณะมีปกติตรัสสอนอย่างนี้ 
So 'haṃ vissajjite pañhe paṭhamaṃ phalaṃ ajjhagaṃ /
virajo vimalo āsiṃ sutvāna jinasāsanaṃ. // ApTha_1,1. // 
[๒๘๗] เมื่อพระอัสสชิเถระแก้ปัญหาแล้ว
ข้าพระองค์นั้นได้บรรลุผลที่หนึ่ง(โสดาปัตติผล)
เป็นผู้ปราศจากธุลีคือกิเลส
ปราศจากมลทินคือกิเลส เพราะได้ฟังคำสอนของพระชินเจ้า 
Sutvāna munino vākyaṃ passitvā dhammaṃ uttamaṃ /
pariyogāḷhasaddhammo imaṃ gāthaṃ abhās’ ahaṃ: // ApTha_1,1. // 
[๒๘๘] ข้าพระองค์ได้ฟังคำของพระมุนีแล้ว
ได้เห็นธรรมอันสูงสุด หยั่งรู้พระสัทธรรมจึงได้กล่าวคาถานี้ว่า 
‘Es’ eva dhammo yadi tāvad eva paccavyathā padam asokaṃ /
adiṭṭham abbhatītaṃ bahukehi kappanahutehi.’ // ApTha_1,1. // 
[๒๘๙] ถ้ามีเพียงเท่านั้น ธรรมนี้นั่นแหละ(ที่ข้าพเจ้าพึงบรรลุ)
ท่านรู้แจ้งทางที่ไม่เศร้าโศก
ซึ่งข้าพเจ้าไม่เห็นแล้ว ล่วงเลยมาหลายหมื่นกัป 
Sāhaṃ dhammaṃ gavesanto kutitthe sañcarim ahaṃ /
so me attho anuppatto kālo me na ppamajjituṃ. // ApTha_1,1. // 
[๒๙๐] ข้าพเจ้าเมื่อแสวงหาธรรม ได้เที่ยวไปในลัทธิที่ผิด
(บัดนี้)ได้บรรลุความประสงค์นั้นแล้ว
จึงมิใช่เวลาที่ข้าพเจ้าจะประมาท 
Tosito 'haṃ Assajinā patvāna acalaṃ padaṃ /
sahāyakaṃ gavesanto assamam agamās’ ahaṃ. // ApTha_1,1. // 
[๒๙๑] ข้าพระองค์ที่พระอัสสชิเถระให้ยินดีแล้ว
บรรลุทางที่ไม่หวั่นไหว เมื่อจะไปเสาะหาสหาย
จึงได้ไปยังอาศรม 
Dūrato 'va mamaṃ disvā sahāyo me susikkhito /
iriyāpathasampanno idaṃ vacanam abravī: // ApTha_1,1. // 
[๒๙๒] สหายของข้าพระองค์ ผู้ได้ศึกษามาดี
เพียบพร้อมด้วยอิริยาบถ เห็นข้าพระองค์แต่ไกลเทียว
จึงได้กล่าวคำนี้ว่า 
Pasannamukhanetto 'si muni munibhāvo 'va dissati /
amatādhigato kacci nibbānaṃ accutaṃ padaṃ. // ApTha_1,1. // 
[๒๙๓] ท่านมีหน้าตาผ่องใส ปรากฏประหนึ่งว่าจะเป็นมุนี
ท่านได้บรรลุอมตนิพพานหรือได้บรรลุบทคือพระนิพพานอันไม่จุติ 
Subhānurūpo āyāsi anejjaṅkārito viya /
danto ca uttamadamathe upasanto 'si brāhmaṇa. // ApTha_1,1. // 
[๒๙๔] ท่านเป็นผู้สมควรแก่ความงาม เป็นเหมือนผู้ฝึกฝนตนมาแล้ว
เหมือนช้างถูกแทงด้วยหอก ไม่หวั่นไหว
พราหมณ์ ท่านเป็นผู้มีการฝึกฝนมาดี
จึงสงบระงับแล้ว ในทางเป็นที่ฝึก 
Amataṃ mayā 'dhigataṃ sokasallavinodanaṃ /
tuvam pi adhigacche hi gacchāma buddhasantikaṃ. // ApTha_1,1. // 
[๒๙๕] ข้าพระองค์ตอบว่า ข้าพเจ้าได้บรรลุอมตธรรม
ซึ่งเป็นเครื่องบรรเทาลูกศรคือความเศร้าโศกแล้ว
ถึงตัวท่านก็จะบรรลุอมตธรรมนั้นได้
พวกเราไปเฝ้าพระพุทธเจ้ากันเถิด 
Sādhū ti so paṭissutvā sahāyo me susikkhito /
hatthena hatthaṃ gaṇhitvā upāgamī satthusantikaṃ. // ApTha_1,1. // 
[๒๙๖] สหายนั้นอันข้าพระองค์ให้ศึกษาอย่างดีแล้ว
จึงรับคำว่า ดีละ แล้วได้จูงมือกันมายังสำนักของพระองค์ 
Ubho pi pabbajissāma Sakyaputta tav’ antike /
tava sāsanam āgamma viharāma anāsavā. // ApTha_1,1. // 
[๒๙๗] ข้าแต่พระองค์ผู้ศากยบุตร ข้าพระองค์ทั้ง ๒
จักบวชในสำนักของพระองค์
อาศัยคำสอนของพระองค์อยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ 
Kolito iddhiyā seṭṭho; ahaṃ paññāya pārago /
ubho ca ekato hutvā sāsanaṃ sobhayāmase13 // ApTha_1,1. // 
[๒๙๘] ท่านโกลิตะเป็นผู้เลิศด้วยฤทธิ์ ข้าพระองค์เลิศด้วยปัญญา
ข้าพระองค์ทั้ง ๒ จะร่วมมือกันทำศาสนาให้งดงาม 
(026) Apariyositasaṅkappo kutitthe sañcarim ahaṃ /
tava dassanam āgamma saṅkappo pūrito mama. // ApTha_1,1. // 
[๒๙๙] (เมื่อก่อน) ข้าพระองค์มีความดำริยังไม่ถึงที่สุด
จึงได้เที่ยวไปในลัทธิที่ผิด
(แต่บัดนี้)เพราะได้อาศัยทัศนะของพระองค์
ความดำริของข้าพระองค์จึงเต็ม 
Paṭhaviyaṃ patiṭṭhāya pupphanti samaye dumā /
dibbā gandhā sampavanti tosenti sabbapāṇinaṃ. // ApTha_1,1. // 
[๓๐๐] หมู่ไม้เกิดบนแผ่นดินย่อมแย้มบานในฤดูกาล
กลิ่นทิพย์หอมอบอวลไปทำให้สรรพสัตว์ยินดี (ฉันใด) 
Tath’ evāhaṃ mahāvīra Sakyaputta mahāyasa /
sāsane te patiṭṭhāya samay’ esāmi pupphituṃ. // ApTha_1,1. // 
[๓๐๑] ข้าแต่พระองค์ผู้มีความเพียรมาก
ผู้เป็นศากยบุตร มีพระยศยิ่งใหญ่
ข้าพระองค์ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
ดำรงอยู่ในศาสนาของพระองค์แล้ว
ย่อมแสวงหากาลเวลาเพื่อจะแย้มบาน 
Vimuttipuppham esanto bhavasaṃsāramocanaṃ /
vimutti-pupphalābhena tosemi sabbapāṇinaṃ. // ApTha_1,1. // 
[๓๐๒] ข้าพระองค์แสวงหาดอกไม้คือวิมุตติ
ซึ่งเป็นเหตุหลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในภพ
ให้สรรพสัตว์ยินดีด้วยการได้ดอกไม้คือวิมุตติ 
Yāvatā buddhakhettamhi ṭhapetvāna mahāmuniṃ /
paññāya sadiso n’ atthi tava puttassa cakkhumā. // ApTha_1,1. // 
[๓๐๓] ข้าแต่พระองค์ผู้มีพระจักษุ ตลอดพุทธเขต
ยกเว้นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้เป็นมหามุนีเสีย
ก็ไม่มีใครจะมีปัญญาเหมือนกับข้าพระองค์ผู้เป็นบุตรของพระองค์เลย 
Suvinītā ca te sissā parisā ca susikkhitā /
uttame damathe dantā parivārenti taṃ sadā. // ApTha_1,1. // 
[๓๐๔] ศิษย์และชุมนุมชนของพระองค์ที่พระองค์ทรงแนะนำดีแล้ว
ให้ศึกษาดีแล้ว ฝึกฝนในอุบายเครื่องฝึกอันสูงสุด
แวดล้อมพระองค์อยู่ทุกเมื่อ 
Jhāyī jhāna*ratā dhīrā santacittā* samāhitā /
munī moneyya-sampannā parivārenti taṃ sadā. // ApTha_1,1. // 
[๓๐๕] ท่านเหล่านั้นมีปกติเข้าฌาน ยินดีในฌาน
เป็นนักปราชญ์ มีจิตสงบ มีจิตตั้งมั่น เป็นมุนี
สมบูรณ์ด้วยความเป็นมุนี แวดล้อมพระองค์อยู่ทุกเมื่อ 
Appicchā nipakā dhīrā appāhārā alolupā /
lābhālabhena santuṭṭhā parivārenti taṃ sadā. // ApTha_1,1. // 
[๓๐๖] ท่านเหล่านั้นมักน้อย มีปัญญารักษาตน
เป็นนักปราชญ์ ฉันอาหารแต่น้อย ไม่โลภ
สันโดษตามมีตามได้ แวดล้อมพระองค์อยู่ทุกเมื่อ 
Āraññakā dhutaratā jhāyino lūkhacīvarā /
vi*vekābhiratā dhīrā*parivārenti taṃ sadā. // ApTha_1,1. // 
[๓๐๗] ท่านเหล่านั้นถือการอยู่ป่าเป็นวัตร ยินดีในธุดงค์
เข้าฌาน ใช้จีวรเศร้าหมอง ยินดียิ่งในความสงัด
เป็นนักปราชญ์ แวดล้อมพระองค์อยู่ทุกเมื่อ 
Paṭipannā phalaṭṭhā ca sekhā phalasamaṅgino /
āsiṃsakā uttamatthaṃ parivārenti taṃ sadā. // ApTha_1,1. // 
[๓๐๘] ท่านเหล่านั้นเป็นผู้ปฏิบัติ(พรั่งพร้อมด้วยมรรค)
ดำรงอยู่ในผล และเป็นพระเสขะพรั่งพร้อมด้วยผล
มุ่งหวังประโยชน์อย่างสูงสุด(คือพระนิพพาน)
แวดล้อมพระองค์อยู่ทุกเมื่อ 
Sotāpannā ca vimalā sakadāgāmino ca ye /
anāgāmī ca arahā parivārenti taṃ sadā. // ApTha_1,1. // 
[๓๐๙] ท่านเหล่านั้นทั้งที่เป็นพระโสดาบัน ทั้งที่เป็นพระสกทาคามี
ทั้งที่เป็นพระอนาคามี และที่เป็นพระอรหันต์
เป็นผู้ปราศจากมลทิน(คือกิเลส) แวดล้อมพระองค์อยู่ทุกเมื่อ 
*Satipaṭṭhā*nakusalā bojjhaṅgābhāvanāratā /
sāvakā te bahū sabbe parivārenti taṃ sadā. // ApTha_1,1. // 
[๓๑๐] สาวกของพระองค์จำนวนมาก
ฉลาดในสติปัฏฐาน ยินดีในการเจริญโพชฌงค์
ทุกท่านแวดล้อมพระองค์อยู่ทุกเมื่อ 
Iddhipādesu kusalā samādhibhāvanāratā /
sammappadhānam anuyuktā parivārenti taṃ sadā. // ApTha_1,1. // 
[๓๑๑] ท่านเหล่านั้นฉลาดในอิทธิบาท ยินดีในการเจริญสมาธิ
หมั่นประกอบสัมมัปปธาน แวดล้อมพระองค์อยู่ทุกเมื่อ 
Tevijjā *chaḷabhiññā ca iddhiyā pārami*ṅgatā /
paññāya pāramīpattā parivārenti taṃ sadā. // ApTha_1,1. // 
[๓๑๒] ท่านเหล่านั้นได้วิชชา ๓ ได้อภิญญา ๖
ถึงความสำเร็จแห่งฤทธิ์
ถึงความสำเร็จแห่งปัญญา
แวดล้อมพระองค์อยู่ทุกเมื่อ 
Edisā te mahāvīra tava sissā susikkhitā /
durāsadā uggatejā parivārenti taṃ sadā. // ApTha_1,1. // 
[๓๑๓] ข้าแต่พระองค์ผู้มีความเพียรมาก ศิษย์ของพระองค์เป็นเช่นนี้
เป็นผู้ศึกษาดีแล้ว หาผู้กระทบกระทั่งได้ยาก
มีเดชแผ่ไป แวดล้อมพระองค์อยู่ทุกเมื่อ 
Tehi sissehi parivuto saññatehi tapassihi /
migarājā v’ asambhīto *uḷurājā va sobhasi.* // ApTha_1,1. // 
[๓๑๔] พระองค์มีศิษย์เหล่านั้นแวดล้อม
ผู้สำรวมแล้ว ผู้มีตบะ เป็นผู้ไม่ครั่นคร้ามดังราชสีห์
ย่อมทรงงดงามดังดวงจันทร์ 
Paṭhaviyaṃ patiṭṭhāya ruhanti dharaṇīruhā /
vepullataṃ papuṇanti phalan ca dassayanti te. // ApTha_1,1. // 
[๓๑๕] ต้นไม้เกิดบนแผ่นดินย่อมงอกงามไพบูลย์บนแผ่นดิน
ต้นไม้เหล่านั้นย่อมเผล็ดผล (โดยลำดับ) 
(027) Paṭhavī sadiso tvaṃ 'si Sakyaputta mahāyasa /
sāsane te patiṭṭhāya labhanti amataṃ phalaṃ. // ApTha_1,1. // 
[๓๑๖] ข้าแต่พระองค์ผู้ศากยบุตร มีพระยศยิ่งใหญ่
พระองค์ทรงเป็นเช่นกับแผ่นดิน ศิษย์ (เป็นเช่นกับต้นไม้)
ดำรงอยู่ในศาสนาของพระองค์แล้ว ย่อมได้ผลเป็นอมตะ 
Sindhū Sarasvatī c’ eva nadiyā Candabhāgiyo /
Gaṅgā ca Yamunā c’ eva Sarabhū ca atho Mahī. // ApTha_1,1. // 
[๓๑๗] แม่น้ำสินธุ แม่น้ำสรัสวดี แม่น้ำจันทภาคา
แม่น้ำคงคา แม่น้ำยมุนา แม่น้ำสรภู และแม่น้ำมหี 
Etāsaṃ sandamānānaṃ sāgaro sampaṭicchati /
jahanti purimaṃ nāmaṃ sāgaro te 'va ñāyati. // ApTha_1,1. // 
[๓๑๘] เมื่อแม่น้ำหลายสายนั้นไหลไป(ถึงทะเล)ทะเลย่อมรองรับไว้
แม่น้ำเหล่านั้นย่อมละชื่อเดิม ปรากฏชื่อว่าทะเล ฉันใด 
Tath’ ev’ ime catuvaṇṇā pabbajitvā tav’ antike /
jahanti purimaṃ nāmam buddhaputtā ti ñāyare. // ApTha_1,1. // 
[๓๑๙] วรรณะทั้ง ๔ เหล่านี้ก็ฉันนั้น
มาบวชในสำนักของพระองค์แล้ว
ก็ย่อมละชื่อเดิม ปรากฏชื่อว่าพุทธบุตร 
Yathāpi cando vimalo gacchaṃ ākāsadhātuyā /
sabbe tārāgaṇe loke ābhāya atirocati. // ApTha_1,1. // 
[๓๒๐] ดวงจันทร์ปราศจากมลทินโคจรอยู่ในอากาศ
มีแสงรุ่งโรจน์ยิ่งกว่าหมู่ดาวในโลกทั้งหมด ฉันใด 
Tath’ eva tvaṃ mahāvīra parivuto devamānuse /
buddhakhettaṃ atikkamma jalasi sabbadā tuvaṃ. // ApTha_1,1. // 
[๓๒๑] ข้าแต่พระองค์ผู้มีความเพียรมาก
พระองค์ก็ฉันนั้นเหมือนกัน มีศิษย์แวดล้อม
ก็ย่อมรุ่งเรืองยิ่งกว่าเทวดาและมนุษย์เหล่านั้นทั้งหมดในกาลทุกเมื่อ 
Gambhīre uṭṭhitā ūmi na velam ativattati /
sabbavelam paphusanti sañcuṇṇā vikiranti tā. // ApTha_1,1. // 
[๓๒๒] คลื่นเกิดขึ้นในน้ำลึกย่อมไม่ล่วงเลยล้นฝั่งไปได้
คลื่นเหล่านั้นกระทบฝั่งเป็นระลอก
กระจายหายไปหมด ฉันใด 
Tath’ eva titthiyā loke nānādiṭṭhī bahujjanā /
dhammaṃ dhāritukāmā te n’ ātivattanti taṃ muniṃ. // ApTha_1,1. // 
[๓๒๓] เดียรถีย์ทั้งหลายในโลกก็ฉันนั้น
มีทิฏฐิต่างกัน เป็นชนจำนวนมาก
พวกเขาต้องการจะกล่าวธรรม
แต่ก็ไม่ล่วงเลยพระองค์ผู้เป็นมุนีไปได้ 
Sac’ eva taṃ pāpuṇanti paṭivādehi cakkhuma /
tav antikaṃ upāgantvā sañcuṇṇā 'va bhavanti te. // ApTha_1,1. // 
[๓๒๔] ข้าแต่พระองค์ผู้มีพระจักษุ ก็ถ้าเดียรถีย์เหล่านั้น
เข้ามาหาพระองค์ด้วยความประสงค์จะคัดค้าน
ครั้นมาถึงสำนักของพระองค์แล้ว ก็จะกลายเป็นจุรณไป 
Yathāpi udake jātā kumudā mandālakā bahū /
upalimpanti toyena kaddamakalalena ca. // ApTha_1,1. // 
[๓๒๕] ดอกโกมุท ดอกบัวเผื่อน จำนวนมาก
เกิดในน้ำแล้วติดอยู่กับน้ำและเปือกตม ฉันใด 
Tath’ eva bahukā sattā loke jātā virūhare /
aṭṭitā rāgadosena kaddame kumudaṃ yathā. // ApTha_1,1. // 
[๓๒๖] เหล่าสัตว์จำนวนมากก็ฉันนั้น เกิดมาในโลกแล้ว
ถูกราคะและโทสะเบียดเบียน ย่อมงอกงาม(ในวัฏฏสงสาร)
ดุจดอกโกมุทงอกงามในเปือกตม ฉะนั้น 
Yathā padumaṃ jalajaṃ jalamajjhe virūhati /
na so limpati toyena parisuddho hi kesarī. // ApTha_1,1. // 
[๓๒๗] ดอกบัวหลวงเกิดในน้ำ งดงามอยู่กลางน้ำ
(แต่)ดอกบัวหลวงนั้นยังคงบริสุทธิ์ ไม่ติดอยู่กับน้ำ ฉันใด 
Tath eva tvaṃ mahāvīra loke jāto mahāmuni /
no palimpasi lokena toyena padumaṃ yathā. // ApTha_1,1. // 
[๓๒๘] ข้าแต่พระองค์ผู้มีความเพียรมาก พระองค์ก็ทรงเป็นฉันนั้น
เป็นมหามุนี เกิดมาแล้วในโลก (แต่)ไม่ทรงติดอยู่กับโลก
ดุจดอกบัวหลวงไม่ติดอยู่กับน้ำ ฉะนั้น 
Yathāpi rammake māse bahū pupphanti vārijā /
nātikkamanti taṃ māsaṃ samayo pupphanāya so. // ApTha_1,1. // 
[๓๒๙] ดอกไม้หลายชนิดที่เกิดในน้ำ
ย่อมแย้มบานในเดือน ๑๒ ไม่ล่วงเลยเดือน ๑๒ นั้นไป
เพราะเดือน ๑๒ นั้นเป็นกาลสมัยที่ดอกไม้จะบาน ฉันใด 
(028) Tath’ eva tvaṃ Sakyaputta pupphitā te vimuttiyā /
sāsanaṃ nātivattanti padumaṃ vārijaṃ yathā. // ApTha_1,1. // 
[๓๓๐] ข้าแต่พระองค์ผู้ศากยบุตร พระองค์ก็เป็นผู้แย้มบานแล้ว ฉันนั้น
เหล่าศิษย์ของพระองค์ก็เป็นผู้แย้มบานแล้วด้วยวิมุตติ
ไม่ล่วงเลยคำสั่งสอนของพระองค์ไปได้
ดุจดอกบัวหลวงซึ่งแย้มบานด้วยน้ำ
ไม่ล่วงเลยกาลสมัยเป็นที่แย้มบานไปได้ ฉะนั้น 
Supupphito sālarājā dibbagandhaṃ pavāyati /
aññasālehi parivuto sālarājā va sobhati. // ApTha_1,1. // 
[๓๓๑] ต้นพญาไม้สาละออกดอกบานสะพรั่ง
ส่งกลิ่นหอมอบอวลไปคล้ายกลิ่นทิพย์
แวดล้อมด้วยไม้สาละชนิดอื่น ย่อมงดงาม ฉันใด 
Tath’ eva tvaṃ mahāvīra buddhañāṇena pupphito /
bhikkhusaṅghena parivuto sālarājā va sobhasi. // ApTha_1,1. // 
[๓๓๒] ข้าแต่พระองค์ผู้มีความเพียรมาก พระองค์ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
ทรงแย้มบานด้วยพระพุทธญาณ มีหมู่ภิกษุแวดล้อม
ย่อมงดงาม ดุจพญาไม้สาละ ฉะนั้น 
Yathāpi selo Himavā osadho sabbapāṇinaṃ /
nāgānam asurānañ ca devatānañ ca ālayo. // ApTha_1,1. // 
[๓๓๓] เปรียบเหมือนภูเขาศิลาล้วนชื่อหิมวา
เป็นภูเขาที่มีโอสถสำหรับสรรพสัตว์
เป็นที่อยู่ของพวกนาค อสูร และเทวดาทั้งหลาย 
Tath’ eva tvaṃ mahāvīra osadho viya pāṇinaṃ /
tevijjā chaḷabhiññā ca iddhiyā pāramiṅgatā. // ApTha_1,1. // 
[๓๓๔] ข้าแต่พระองค์ผู้มีความเพียรมาก พระองค์ก็ทรงเป็นฉันนั้น
ทรงเป็นดุจโอสถของสรรพสัตว์ ทรงได้วิชชา ๓
ได้อภิญญา ๖ ถึงความสำเร็จแห่งฤทธิ์ 
Anusiṭṭhā mahāvīra tayā kāruṇikena te /
ramanti dhammaratiyā vasanti tava sāsane. // ApTha_1,1. // 
[๓๓๕] ข้าแต่พระองค์ผู้มีความเพียรมาก
ผู้ที่พระองค์ทรงพระกรุณาพร่ำสอนแล้วนั้น
ย่อมยินดีในธรรม อยู่ในศาสนาของพระองค์ 
Migarājā yathā sīho abhinikkhamma āsayā /
catuddisā viloketvā tikkhattuṃ abhinādayi. // ApTha_1,1. // 
[๓๓๖] ราชสีห์ผู้เป็นพญาเนื้อพอออกจากถ้ำที่อาศัยแล้ว
เหลียวดูทิศทั้ง ๔ จึงบันลือสีหนาท ๓ ครั้ง 
Sabbe *mi*gā uttasanti migarājassa gajjato /
tathā hi jātimā eso pasu tāseti sabbadā. // ApTha_1,1. // 
[๓๓๗] เมื่อราชสีห์ผู้พญาเนื้อคำราม
สัตว์ทั้งปวงย่อมสะดุ้งกลัว อันที่จริง ชาติราชสีห์นี้
ย่อมทำให้เหล่าสัตว์สะดุ้งกลัวทุกเมื่อ ฉันใด 
Gajjato te mahāvīra vasudhā sampakampati /
bodhaneyyā 'va bojjhanti tasanti mārakāyikā. // ApTha_1,1. // 
[๓๓๘] ข้าแต่พระองค์ผู้มีความเพียรมาก เมื่อพระองค์ทรงบันลืออยู่
พื้นพสุธานี้ย่อมหวั่นไหว เหล่าสัตว์ผู้ควรตรัสรู้ก็ย่อมตรัสรู้
เหล่าสัตว์ผู้อยู่ในหมู่มารย่อมสะดุ้ง ฉันนั้น 
Tasanti titthiyā sabbe nadato te mahāmuni /
kākasenā 'va vibbhantā migaraññā yathā migā. // ApTha_1,1. // 
[๓๓๙] ข้าแต่พระมหามุนี เมื่อพระองค์ทรงบันลืออยู่
เหล่าเดียรถีย์ทั้งปวงย่อมสะดุ้ง ดุจฝูงกา ฝูงเหยี่ยวบินกระเจิงไป
ดุจฝูงสัตว์แตกกระเจิงไปเพราะราชสีห์ผู้เป็นพญาเนื้อ ฉะนั้น 
Ye keci gaṇino loke satthāro ti pavuccare /
paramparāgataṃ dhammaṃ desenti parisāya te. // ApTha_1,1. // 
[๓๔๐] เหล่าคณาจารย์บางพวกประชาชนเรียกกันว่า เป็นศาสดาในโลก
ท่านเหล่านั้นย่อมแสดงธรรมที่สืบๆ กันมาแก่ชุมนุมชน 
Na h’ eva tvaṃ mahāvīra dhammaṃ desesi pāṇinaṃ /
samaṃ saccāni bujjhitvā kevalaṃ bodhipakkhikaṃ. // ApTha_1,1. // 
[๓๔๑] ข้าแต่พระองค์ผู้มีความเพียรมาก แต่พระองค์หาเป็นอย่างนั้นไม่
ครั้นทรงตรัสรู้สัจจะทั้งหลายด้วยพระองค์เองแล้ว
จึงทรงแสดงโพธิปักขิยธรรมทั้งมวลแก่เหล่าสัตว์ 
Āsayānusayaṃ ñatvā indriyānaṃ phalāphalaṃ /
bhabbābhabbe viditvāna mahāmegho va gajjasi. // ApTha_1,1. // 
[๓๔๒] พระองค์ทรงทราบอัธยาศัยและอนุสัย
ทรงทราบว่าอินทรีย์มีกำลังแก่กล้าและไม่แก่กล้า
ทรงทราบบุคคลสมควรและไม่สมควร
จึงทรงบันลือดุจมหาเมฆ 
Cakkavālapariyantā nisinnā parisā bhave /
nānādiṭṭhī vicintenti vimaticchedanāya taṃ. // ApTha_1,1. // 
[๓๔๓] เพื่อจะทรงตัดความสงสัยของชุมนุมชนที่จะพึงนั่งรอบจักรวาล
ผู้มีทิฏฐิต่างกัน มีความคิดคิดต่างกัน 
(029) Sabbesaṃ cittam aññāya opammakusalo muni /
ekaṃ pañhaṃ kathento 'va vimatin chindi pāṇinaṃ. // ApTha_1,1. // 
[๓๔๔] พระองค์ผู้เป็นมุนีทรงรู้จิตของเหล่าสัตว์ทั้งปวง
ทรงฉลาดในข้ออุปมา ตรัสแก้ปัญหาข้อเดียวเท่านั้น
ก็ทรงตัดความสงสัยของเหล่าสัตว์เสียได้ 
Upadisasadiseh' eva vāsudhā pūritā bhave /
sabbe 'va te pañjalikā kittayuṃ lokanāyakaṃ. // ApTha_1,1. // 
[๓๔๕] พื้นแผ่นดินพึงเต็มด้วยมนุษย์ผู้เช่นกับจอกแหน
พวกเขาทั้งหมดพึงประคองอัญชลี
ประกาศคุณของพระองค์ผู้ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก 
Kappaṃ 'vā te kittayantā nānāvaṇṇehi kittayuṃ /
parimetuṃ na pappeyyum appameyyo Tathāgato. // ApTha_1,1. // 
[๓๔๖] อีกอย่างหนึ่งเทวดาและมนุษย์เหล่านั้น
เมื่อประกาศคุณอยู่ตลอดกัปหนึ่ง
พึงประกาศคุณโดยประการต่างๆ
ก็ยังไม่สามารถจะประกาศคุณให้สิ้นสุดได้
พระตถาคตมีพระคุณหาประมาณมิได้ 
Yathā sakena thāmena kittito hi mahājino /
kappakoṭī pakittentā evamevam akittayuṃ. // ApTha_1,1. // 
[๓๔๗] ก็ข้าพระองค์สรรเสริญพระชินเจ้าด้วยกำลังของตนอย่างไร
เหล่าเทวดาและมนุษย์เมื่อสรรเสริญอยู่ตลอดโกฏิกัป
ก็พึงสรรเสริญอย่างนั้นเหมือนกัน 
Sace hi koci devo vā manusso vā susikkhito /
pūritaṃ parikaḍḍheyya vighātaṃ 'va labheyya so. // ApTha_1,1. // 
[๓๔๘] ก็ถ้าใครๆ จะเป็นเทวดา หรือมนุษย์ก็ตาม
ได้ศึกษามาเป็นอย่างดีแล้ว จะพึงกำหนดเพื่อจะประมาณ(คุณ)
ผู้นั้นจะพึงได้รับความลำบากเปล่า 
Sāsane te patiṭṭhāya Sakyaputta mahāyasa /
paññāya pāramiṃ gantvā viharāmi anāsavo. // ApTha_1,1. // 
[๓๔๙] ข้าแต่พระองค์ผู้ศากยบุตร มีพระยศยิ่งใหญ่
ข้าพระองค์ดำรงอยู่ในศาสนาของพระองค์แล้ว
สำเร็จปัญญาบารมีอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ 
Titthiye sampamaddāmi vattemi jinasāsanaṃ /
dhammasenāpati ajja Sakyaputtassa sāsane. // ApTha_1,1. // 
[๓๕๐] ข้าพระองค์จะย่ำยีเหล่าเดียรถีย์
วันนี้ ข้าพระองค์เป็นจอมทัพธรรมในศาสนาของพระศากยบุตร
ประกาศศาสนาของพระชินเจ้า 
Aparimeyye kataṃ kammaṃ phalaṃ dassesi me idha /
sukhito saravego va kilese jhāpayī mamaṃ. // ApTha_1,1. // 
[๓๕๑] กรรมที่ข้าพระองค์ได้ทำไว้ในกาลที่จะกำหนดจำนวนมิได้
แสดงผลแก่ข้าพระองค์แล้วในอัตภาพสุดท้ายนี้
ข้าพระองค์หลุดพ้นดีแล้ว ดุจกำลังลูกศรหลุดพ้นไปจากแล่ง
เผากิเลสของข้าพระองค์ได้แล้ว 
Yo koci manujo bhāraṃ dhāreyya matthake sadā /
bhārena dukkhito assa bhāro hi bharito tathā. // ApTha_1,1. // 
[๓๕๒] มนุษย์คนใดคนหนึ่งพึงทูนของหนักไว้บนศีรษะตลอดเวลา
เขาต้องลำบากเพราะของหนัก
เป็นผู้เต็มไปด้วยของหนักทั้งหลาย 
Dayhamāno tīh'aggīhi bhavesu saṃsariṃ ahaṃ /
bharito bhavabhārena girim uccārito yathā. // ApTha_1,1. // 
[๓๕๓] ข้าพระองค์ถูกไฟ ๓ กอง เผาไหม้อยู่
เป็นผู้เต็มไปด้วยของหนักคือภพ โดยประการนั้น
ท่องเที่ยวไปแล้วในภพทั้งหลาย
ภูเขาสิเนรุอันบุคคลถอนขึ้นแล้วฉันใด 
Oropito ca me bhāro; bhavā ugghāṭitā mayā /
karaṇīyaṃ kataṃ sabbaṃ Sakyaputtassa sāsane. // ApTha_1,1. // 
[๓๕๔] ก็ภาระอันหนักข้าพระองค์ยกลงแล้ว
ภพทั้งหลายข้าพระองค์ก็เพิกได้แล้ว ฉันนั้น
กิจที่ควรทำทั้งหมด ในศาสนาของพระองค์ผู้ศากยบุตร
ข้าพระองค์ก็ได้กระทำสำเร็จแล้ว 
Yāvatā buddhakhettamhi ṭhapetvā Sakyapuṅgavaṃ /
aham aggo 'mhi paññāya sadiso me na vijjati. // ApTha_1,1. // 
[๓๕๕] ตลอดพุทธเขตยกเว้นพระผู้มีพระภาคผู้ศากยะ ผู้ประเสริฐ
ข้าพระองค์เป็นผู้เลิศด้วยปัญญา ไม่มีผู้เช่นกับข้าพระองค์ 
Samādhimhi sukusalo iddhiyā pāramiṅgato /
icchamāno 'va 'haṃ ajja sahāyam abhinimmine. // ApTha_1,1. // 
[๓๕๖] ข้าพระองค์เป็นผู้ฉลาดในสมาธิ ถึงความสำเร็จแห่งฤทธิ์
วันนี้ เมื่อต้องการจะเนรมิตคน ๑,๐๐๐ คนก็ได้ 
(030) Anupubbavihārissa vasībhūto mahāmuni. /
kathesi sāsanaṃ mayhaṃ, nirodho sayanaṃ mamaṃ. // ApTha_1,1. // 
[๓๕๗] พระผู้มีพระภาคผู้เป็นมหามุนี
เป็นผู้ชำนาญในอนุปุพพวิหารธรรม
ตรัสสอนแก่ข้าพระองค์ นิโรธสมาบัติเป็นที่นอนของข้าพระองค์ 
Dibbacakkhuṃ visuddham me samādhikusalo ahaṃ /
sammappadhānam anuyutto bojjhaṅgabhāvanārato. // ApTha_1,1. // 
[๓๕๘] ข้าพระองค์มีทิพยจักษุบริสุทธิ์หมดจด
ข้าพระองค์เป็นผู้ฉลาดในสมาธิ หมั่นประกอบในสัมมัปปธาน
ยินดีในการเจริญโพชฌงค์ 
Sāvakena hi pattabbaṃ sabbam eva kataṃ mamaṃ /
lokanāthaṃ ṭhapetvāna sadiso me na vijjati. // ApTha_1,1. // 
[๓๕๙] ข้าพระองค์ได้ทำกิจทุกอย่างที่สาวกจะพึงบรรลุแล้ว
ยกเว้นพระผู้มีพระภาคผู้ทรงเป็นที่พึ่งของสัตว์โลกเสียแล้ว
ไม่มีผู้เช่นกับข้าพระองค์ 
Samāpattivinayakusalo jhānavimokkhānaṃ khippalābhī /
bojjhaṅgabhāvanārato sāvakaguṇapāramiṅgato 'smiṃ. // ApTha_1,1. // 
[๓๖๐] ข้าพระองค์เป็นผู้ฉลาดในสมาบัติ
ได้ฌานและวิโมกข์ เร็วพลัน ยินดีในการเจริญโพชฌงค์
เป็นผู้บรรลุสาวกบารมีญาณ 
Sāvakaguṇenāpi phusena buddhiyā purisuttamagāravā /
saddhāya saṅgahītaṃ cittaṃ sadā sabrahmacārisu. // ApTha_1,1. // 
[๓๖๑] ข้าพระองค์เป็นคนมีคารวะอย่างสูงสุด
เพราะได้บรรลุสาวกบารมีญาณด้วยความรู้
ข้าพระองค์มีจิตอนุเคราะห์เพื่อนสพรหมจารี ด้วยศรัทธาทุกเมื่อ 
Uddhataviso va sappo chinnavisāno va usabho /
nikkhittamānadappo upemi garugāravena gaṇaṃ. // ApTha_1,1. // 
[๓๖๒] ข้าพระองค์ละทิ้งความถือตัวและความเย่อหยิ่งแล้ว
ดุจงูถูกถอนเขี้ยวเสียแล้ว (หรือ) ดุจโคอุสภะตัวเขาหักเสียแล้ว
เข้าหาหมู่คณะด้วยความเคารพหนักแน่น 
Yadi rūpinī bhaveyya paññā me vasupatīnaṃ sameyya. /
Anomadassissa bhagavato phalam etaṃ ñāṇaṃ thavanāya. // ApTha_1,1. // 
[๓๖๓] หากปัญญาของข้าพระองค์จะพึงมีรูปร่าง
ปัญญาของข้าพระองค์ก็จะต้องเสมอกับพระเจ้าแผ่นดินทั้งหลาย
นี้เป็นผลของการชมเชยพระญาณของพระผู้มีพระภาค
พระนามว่าอโนมทัสสี 
Pavattitaṃ dhammacakkaṃ Sakyaputtena tādinā /
anuvattem’ ahaṃ sammā ñāṇathavanāy' idaṃ phalaṃ. // ApTha_1,1. // 
[๓๖๔] ข้าพระองค์ประพฤติตามโดยชอบซึ่งพระธรรมจักร
นี้เป็นผลของการชมเชยพระญาณ 
Mā me kadāci pāpiccho kusīto hīnavīriyo /
appassuto anācāro sameto katthaci ahu. // ApTha_1,1. // 
[๓๖๕] บุคคลผู้มีความปรารถนาเลวทราม เป็นคนเกียจคร้าน
ละความเพียร มีการศึกษาน้อย ไม่มีมารยาท
อย่าได้มาสมาคมกับข้าพระองค์ในที่ไหนๆ สักคราวเลย 
Bahussuto ca medhāvī sīlesu susamāhito /
cetosamathānuyukto api muddhani tiṭṭhatu. // ApTha_1,1. // 
[๓๖๖] ส่วนบุคคลผู้มีการศึกษามาก มีปัญญา
มีจิตตั้งมั่นดีในศีลทั้งหลาย หมั่นประกอบความสงบทางใจ
ขอจงมาดำรงอยู่บนศีรษะของข้าพระองค์เถิด 
Taṃ vo vadāmi bhaddante yāvant’ ettha samāgatā /
appicchā hotha santuṭṭhā jhāyī jhānaratā sadā. // ApTha_1,1. // 
[๓๖๗] (เมื่อพระสารีบุตรเถระจะชักชวนภิกษุอื่นๆในคุณสมบัตินั้น จึงกล่าวว่า)
เหตุนั้น ข้าพเจ้าจึงกล่าวกับท่านทั้งหลาย
ขอความเจริญจงมีแก่ท่านทั้งหลาย
ตามจำนวนที่มาประชุมกัน ณ ที่นี้
ขอท่านทั้งหลายจงเป็นผู้มักน้อย สันโดษ
ยินดีให้ทานทุกเมื่อเถิด 
(031) Yam ahaṃ paṭhamaṃ disvā virajo vimalo ahuṃ /
so me ācariyo vīro Assaji nāma sāvako. // ApTha_1,1. // 
[๓๖๘] ข้าพเจ้าพบสาวกรูปใดก่อนแล้ว
ได้เป็นผู้ปราศจากธุลีคือกิเลส ปราศจากมลทินคือกิเลส
สาวกรูปนั้นมีนามว่าอัสสชิ เป็นนักปราชญ์ เป็นอาจารย์ของข้าพเจ้า 
Tassāhaṃ vāhasā ajja dhammasenāpatī ahuṃ /
sabbattha pāramiṃ patvā viharāmi anāsavo. // ApTha_1,1. // 
[๓๖๙] ข้าพเจ้าเป็นสาวกของพระอัสสชิเถระนั้น
วันนี้ ข้าพเจ้าได้เป็นธรรมเสนาบดีถึงความสำเร็จในคุณทั้งปวง
จึงอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ 
Yo me ācariyo āsi Assaji nāma sāvako /
yassaṃ disāyaṃ vasati ussīsamhikaro ahaṃ. // ApTha_1,1. // 
[๓๗๐] พระสาวกรูปใดชื่อว่าอัสสชิ เป็นอาจารย์ของข้าพเจ้า
อยู่ ณ ทิศใด ข้าพเจ้าจะนอนหันศีรษะไปทางทิศนั้น 
Mama kammaṃ saritvāna Gotamo Sakyapuṅgavo /
bhikkhusaṅghe nisīditvā aggaṭṭhāne ṭhapesi maṃ. // ApTha_1,1. // 
[๓๗๑] พระผู้มีพระภาคผู้โคดมศากยะผู้ประเสริฐ
ทรงระลึกถึงกรรมของข้าพเจ้าแล้ว
ประทับนั่งท่ามกลางหมู่ภิกษุ
ทรงตั้งข้าพเจ้าไว้ในตำแหน่งอัครสาวก 
No text in PTS 
[๓๗๒] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าเผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้อยู่อย่างอิสระ 
No text in PTS 
[๓๗๓] การที่ข้าพเจ้าได้มาในสำนักของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุด
เป็นการมาดีแล้วหนอ
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว 
Paṭisambhidā catasso vimokhā pi ca aṭṭh’ ime /
chaḍābhiññā sacchikatā kataṃ buddhassa sāsasanaṃ ti // ApTha_1,1. // 
[๓๗๔] คุณวิเศษเหล่านี้คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล 
Go to Wiki Documentation
Enhet: Det humanistiske fakultet   Utviklet av: IT-seksjonen ved HF
Login